RISC

ลด “เสียงรบกวน” ในบ้านกันเถอะ

Created By RISC | 4 years ago

Last modified date : 2 years ago

11649 viewer

 

เพื่อนๆ เคยสังเกตุบ้างหรือไม่ว่า เวลาที่เราได้ยินเสียงดังๆ เราจะสะดุ้ง ตกใจ และถ้าฟังเสียงดังนั้นไปนานๆ เราจะรู้สึกหงุดหงิดขึ้นมาเฉยๆ หรือทำงาน อ่านหนังสือไม่รู้เรื่องเลย นั่นเป็นเพราะเสียงมีผลต่อการรับรู้ของสมองและร่างกายของเรา ถ้าเสียงที่ได้ยินนั้นอยู่ในช่วงที่ดีต่อการรับรู้ของสมองจะทำให้เรามีสมาธิ และรู้สึกผ่อนคลาย แต่หากเป็นเสียงดังเกินไป หรือที่เราเรียกว่า “เสียงรบกวน” จะมีผลต่อความรู้สึก ระบบประสาท และสุขภาพของเราไปด้วย

 

รู้หรือไม่ ... เสียงแค่ไหนที่เรียกว่า “ดัง” ?  

ระดับเสียงเกิน 70-75 เดซิเบล เอ (dBA) ขึ้นไป หากฟังอยู่นานๆ ความรู้สึกต่อการได้ยินจะลดความไวลง องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล เอ (dBA) ที่ทุกความถี่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเสียงแค่ไหน เสียงอะไร ที่เรียกว่า “ดังเกินไป” บ้าง

ตารางที่ 1 แสดงระดับความเข้มเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างๆ (ตัวหนังสือสีแดง คือ เสียงที่เป็นอันตราย ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด)

แหล่งกำเนิด

ระดับความเข้มเสียง(เดซิเบล,dB)

ผลการรับฟัง

การหายใจปกติ

การกระซิบแผ่วเบา

สำนักงานที่เงียบ

การพูดคุยธรรมดา

เครื่องดูดฝุ่น

โรงงาน, ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น

เครื่องเสียงสเตอริโอในห้อง, เครื่องเจาะถนนแบบอัดลม
เครื่องตัดหญ้า

ดิสโก้เธค, การแสดงดนตรีประเภทร๊อค

ฟ้าผ่าระยะใกล้ๆ

เครื่องไอพ่นกำลังขึ้นใกล้ๆ

จรวดขนาดใหญ่กำลังขึ้นใกล้ๆ

10

30

50

60

75

80

90
100
120

130

150

180

แทบจะไม่ได้ยิน

เงียบมาก

เงียบ

ปานกลาง

ดัง

ดัง

รับฟังบ่อยๆ การได้ยินจะเสื่อมอย่างถาวร

-

ไม่สบายหู

-

เจ็บปวดในหู

แก้วหูชำรุดทันที

(ที่มา: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ฯ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 2554.)

 

และ....รู้หรือไม่ว่า เสียงที่ดังเกินไป มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจอย่างไร ?

            การได้ยินเสียงที่ดังมากเกินไป จะทำให้เราเกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเครียดทางประสาท ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และหากเสียงนั้นดังช่วงกลางคืนจะไปรบกวนการนอนหลับ อาการเหล่านี้นานไปจะส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง

และหากได้ยินเสียงดังเกินกว่ากำหนดนานเกินไป อาจทำให้สูญเสียการได้ยิน (ชั่วคราวหรือถาวร)

 

บ้านของเรามีเสียงดังรบกวนมาจากอะไรบ้าง ?

ดูจากแหล่งที่มาของเสียงแยกได้ 2 แหล่ง คือ เสียงนอกบ้าน ทั้งเสียงรบกวนที่มาจากข้างบ้าน ถนน และเสียงในบ้าน จากห้องติดกันที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ห้องดูทีวี ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ หรือแม้แต่เสียงเดิน (ทางเดินของคอนโด) เสียงเหล่านี้เราสามารถปรับปรุงบ้านบางส่วนเพื่อลดความดังให้อยู่ในระดับที่ไม่รบกวนเราได้

 

เราจะทำให้บ้านของเรา “ไม่มีเสียงดังรบกวน” ได้อย่างไร ?

เราต้องทำการป้องกันเสียงจากแหล่งที่มาของเสียงทั้ง 2 แหล่งข้างต้น ดังนี้

1.    การกรองเสียง/ป้องกันเสียงจากภายนอก สามารถทำได้ตั้งแต่การปลูกต้นไม้เป็นแนว เพื่อกรองเสียงรบกวนเข้ามาในบ้านก่อนระดับหนึ่ง ต่อมาก็กั้นเสียงจากภายนอกด้วยส่วนผนัง หลังคา ประตูหน้าต่าง ให้ไม่มีรูหรือช่อง ให้เสียงผ่านเข้ามาได้ และเลือกเปิดหน้าต่างในทิศที่ไม่มีเสียงดังรบกวน

2.    การป้องกันเสียงจากภายในบ้าน ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเสียงภายในบ้านมาจากไหนบ้าง เป็นเสียงที่ลอยตามลม ตามอากาศ หรือเป็นเสียงที่มาจากพื้นหรือผนังบ้านเรา ก็สามารถกั้นเสียงเหล่านั้นได้ เช่น

§  เสียงดังผ่านอากาศ เสียงแบบนี้เราต้องปิดรู อุดช่องต่างๆ ที่ทำให้เสียงลอดเข้ามาได้ เช่น ช่องว่างใต้ประตู

§  เสียงดังผ่านผนัง พื้น เสียงแบบนี้เป็นเสียงที่ผ่านมาทางโครงสร้าง ทางที่ดีที่สุดคือ แยกห้องที่คาดว่าจะมีเสียงดังให้อยู่ห่างห้องอื่นๆภายในบ้าน และจัดกลุ่มห้องที่ไม่ต้องการเสียงไปอยู่ด้วยกัน เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน และลดเสียงจากการกระแทกต่างๆ เพื่อไม่ให้เสียงเดินทางผ่านพื้น ผนัง เช่น ปูพรมทางเดิน

แบ่งปันข้อมูล : ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

http://www.whizdomsociety.com/

http://www.magnolia.co.th/FrenchCountry/