RISC

Well-Being Design & Engineering Program (Mini Course) 2024

Created By RISC | 11 months ago

Last modified date : 11 months ago

3726 viewer

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center - RISC) เล็งเห็นความสำคัญของการออกแบบเพื่อสุขภาวะที่ดี และการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาอาคารและเมืองที่เน้นความอยู่ดีมีสุข จึงได้จัดหลักสูตรย่อย Well-Being Design & Engineering Program (Mini Course) 2024 โดยครั้งนี้ RISC ได้ปรับหลักสูตรในรูปแบบที่สามารถเลือกเรียนได้ตามความเชี่ยวชาญ และความต้องการ Upskill ในคลาสที่ต้องการเรียนรู้เชิงลึก โดย Mini Course ประกอบด้วย 9 คลาสบรรยายโดยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ของ RISC มีความรู้ งานวิจัย และประสบการณ์ตรงจากการประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนาโครงการจริง​

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเชิงลึกหลายศาสตร์ และประสบการณ์จากการประยุกต์ความรู้สู่โครงการจริง ผ่านทั้ง 9 คลาสที่ให้ความสำคัญและส่งเสริม Well-Being ในมุมมองต่างๆ​

 

Lecture Series : หลักสูตรแบ่งเป็น 9 คลาส (ทุกวันอังคาร) บรรยายโดยนักวิจัย RISC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ดังนี้​

 

1. Living Well: Health and Well-being Certification Strategies in Real Estate 

เกณฑ์มาตรฐานในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

โดย​ คุณเพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, WELL AP, Fitwel Ambassador, TREES-A NC, RISC (วันที่ 14/5/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหลักการของสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในด้านอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนำมาใช้ในวิธีการออกแบบอาคารต่างๆ รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ของการรับรองมาตรฐานแต่ละประเภท และประโยชน์ที่ได้จากการรับรองเหล่านั้น

 

รายละเอียด:

  • แนวคิดด้านสุขภาวะที่ดีและ Well-Being ในบริบทของอสังหาริมทรัพย์
  • เรียนรู้มาตรฐานและข้อกำหนดการออกแบบอาคารด้านสุขภาวะที่ดี และเปรียบเที่ยบมาตรฐาน (WELL Building Standard, Fitwel Standard และอื่นๆ)
  • แนวทางการออกแบบและนำไปประยุกต์จริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์

 

2. WELL Building Standard 

มาตรฐาน และข้อกำหนด WELL Building Standard และแบ่งปันประสบการณ์ออกแบบสำนักงาน RISC ที่ผ่านการรับรองเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทย

โดย​ คุณวสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C และ WELL AP, RISC ​(วันที่ 28/5/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและข้อกำหนดต่างๆ ของ WELL Building Standard รวมทั้งการได้เรียนรู้และเห็นวิธีการนำไปประยุกต์ใช้จริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์

 

รายละเอียด:

  • ที่มาและความสำคัญของมาตรฐาน WELL Building Standard
  • เรียนรู้มาตรฐานและข้อกำหนดการออกแบบอาคารตามมาตรฐาน WELL Building Standard
  • แนวทางการประยุกต์จริงด้วยประสบการณ์ตรงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

 

3. Green Horizons: Sustainable Development and ESG in Real Estate

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน และการบูรณาการมิติ ESG ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง​

โดย​ คุณเพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, WELL AP, Fitwel Ambassador, TREES-A NC ​​(วันที่ 11/6/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเข้าใจหลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านอสังหาริมทรัพย์ และรู้จัก Green Building Certifications ที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้รู้จักเกณฑ์ Environmental, Social, and Governance (ESG) และการประยุกต์ใช้ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ และรวมไปถึงการได้เข้าใจแนวคิดการเงินยั่งยืน (Sustainable Finance) ในการพัฒนาโครงการด้านความยั่งยืน

 

รายละเอียด:

  • ที่มาและความสำคัญของแนวคิดด้าน Sustainable Development และบทบาทของอสังหาริมทรัพย์ด้านการส่งเสริมความยั่งยืน
  • แนะนำเกณฑ์ Environmental, Social, and Governance (ESG) และตัวอย่างการประยุกต์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของ MQDC
  • แนวคิดและเกณฑ์ Sustainable Finance เพื่อการพัฒนาโครงการด้านความยั่งยืน

 

4. Net Zero Carbon and Resilience ​

แนวคิด Net Zero Carbon และ Resilience เพื่อรับมือภาวะโลกรวนและแนวทางการนำไปใช้จริงในโครงการ  

โดย คุณวรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC (วันที่ ​25/6/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกรวนที่ส่งผลกระทบต่อโลกของเรา แลแนวคิด Net Zero Carbon และ Climate Resilience เพื่อช่วยบรรเทาและรับมือ

 

รายละเอียด:

  • ที่มาและความสำคัญของเป้าหมาย Net Zero Carbon ที่สอดคล้องกับแนวคิด Resilience
  •         การคำนวณ Carbon Emission ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร
  • ตัวอย่างการประยุกต์แนวคิดการลดคาร์บอนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของ MQDC 

 

5. Biodiversity for All Well-Being ​

แนวคิดการดำเนินงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและการประยุกต์ใช้ในโครงการจริง

โดย คุณธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC​ ​(วันที่ 9/7/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การรู้จักและเข้าใจความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ และอัพเดทสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้เรียนรู้แนวคิดการดำเนินงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรักษาระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อม

 

รายละเอียด:

  • ที่มาและความสำคัญของ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” หรือ Biodiversity
  • สถานการณ์และแนวโน้มงานด้าน Biodiversity
  • แนวคิดและประยุกต์จริงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ

 

6. Circular Economy and Construction Waste

แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 

โดย คุณพันธ์พิสุ จุลพันธ์วัฒนา สถาปนิกวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A, RISC และคุณวรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC (วันที่ 23/7/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเรียนรู้และเข้าใจถึงแนวทางของ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียนที่นำมาประยุกต์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และได้ศึกษาตัวอย่างการพัฒนาโครงการ ซึ่งคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการบริหารจัดการขยะในการก่อสร้าง

 

รายละเอียด:

  • แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy ในโครงการอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง
  • ตัวอย่างการประยุกต์แนวคิดและการจัดการ Construction Waste เพื่อผลักดันเรื่อง Circular Economy ในโครงการจริง

 

7. Indoor Environmental Quality

การออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัย

โดย คุณพันธ์พิสุ จุลพันธ์วัฒนา สถาปนิกวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A, RISC ​(วันที่ 6/8/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การรู้จักและเข้าใจผลกระทบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย เพื่อนำไปสู่แนวทางการออกแบบและจัดการที่อยู่อาศัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีภายในอาคาร

 

รายละเอียด:

  •        ที่มาและความสำคัญของการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
  •        แนวทางการออกแบบและควบคุมองค์ประกอบภายในอาคารเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (Well-Being) ได้แก่ Air Quality, Infectious Disease, Visual, Lighting, Biophilic Design, Acoustic, Thermal Comfort, Ergonomic, Inclusive Design, Active Design, Water Quality

 

8. Sustainable & Well-Being Material 

แนวคิดการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อการออกแบบที่ยั่งยืน ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และเทรนด์วัสดุก่อสร้างเพื่อลดคาร์บอน

โดย คุณทิพทับทิม สรรเพชุดาศิลป์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส, Sustainable Building Materials, RISC ​(วันที่ 20/8/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

การเรียนรู้คุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้อยู่อาศัย เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกวัสดุที่ใช้ในการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีกับผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างใหม่ๆ เทรนด์ที่เปลี่ยนไปของการใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อลดคาร์บอน และแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายอาคารคาร์บอนสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Carbon)

 

รายละเอียด:

  • แนวทางในการเลือกวัสดุที่ใช้ในการออกแบบอาคารที่ยั่งยืนและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีต่อผู้ใช้งานในอาคารและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • เทรนด์ของวัสดุในอนาคต เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Carbon 2050
  • แนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายอาคารคาร์บอนสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Carbon)

 

9. NCDs Design Guideline 

ที่มาและความสำคัญของกลุ่มโรค NCDs และทำความเข้าใจ สภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลต่อความเสี่ยงให้เกิดกลุ่มโรค NCDs และแนวทางการออกแบบเพื่อลดการเกิดโรค NCDs​

โดย คุณวสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C และ WELL AP, RISC (วันที่ 27/8/2024 เวลา 14:00-16:00 น.)

 

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

ได้เรียนรู้ถึงที่มาและสาเหตุของการเกิดกลุ่มโรคโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดต่อหรือการแพร่ระบาด (Non Communicable Diseases หรือ NCDs) รวมทั้งได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และกระตุ้นการเกิดโรค NCDs เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบผ่าน Guideline สำหรับปรับใช้กับอาคารต่างๆ

 

รายละเอียด:

  • ที่มาและความสำคัญของโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดต่อ หรือ NCDs
  • สาเหตุและสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการเกิดโรค NCDs และการเชื่อมโยงโรคอื่นๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึง
  • การออกแบบสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ลดแนวโน้มการเกิดโรค NCDs

 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง:

  • ผู้ที่ต้องการ Upskill และ Update ความรู้ที่เกี่ยวกับ Well-Being ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาโครงการเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสรรพสิ่งบนโลก (For All Well-Being)  ​
  • สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบ และนักพัฒนาโครงการ​
  • ผู้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเชิงลึกและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเพื่อประยุกต์ใช้จริงในโครงการ
 
✅ Option A: A la Carte ค่าเรียนคนละ 3,500 บาท/คลาส พร้อมรับใบ Certification เฉพาะคลาสที่เรียน ​
*** สำหรับคนที่เรียบแบบ A la Carte ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงก่อนวันเรียน 2 วันของแต่ละคลาสย่อยของหลักสูตร ***​
✅ Option B: Full Package ค่าเรียนครบทั้ง 9 คลาส พิเศษ!! ลด 20% จ่ายเพียง 25,200 บาท (จากราคาเต็ม 31,500 บาท) พร้อมรับใบ Certification “Well-Being Design & Engineering Program (Mini Course) 2024 และรับฟรี!! หนังสือ Resilience Framework Toolkit 1 เล่ม ​
*** สำหรับคนที่เรียนแบบ Full Package ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 13 พฤษภาคม
 

หลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program (Mini Course) 2024 เปิดสอนที่ DTGO CampUs ตึก Empty Cup ชั้น 4 ห้อง Inventor (วันเวลาตามตารางการสอนแต่ละคลาส)​

 

ชำระเงินได้ที่ บจ.แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น​

ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 175-054975-8 ​

พร้อมแนบหลักฐานการโอนเงินมาที่ link ลงทะเบียนเรียน https://forms.gle/WuxYC1SFuinx9M567

 

จำกัดคลาสละ 50 ท่านเท่านั้น!! ​

 

ข่าวดี !! สถาปนิกสามารถเก็บชั่วโมงเรียนสายงานได้ 

 

Newsletters

Subscribe to our newsletters to stay updated.