Well-Being Design & Engineering Program 2023
By RISC | 2 years ago
รายละเอียดและกำหนดการหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Programศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center - RISC) เล็งเห็นความสำคัญของการออกแบบเพื่อสุขภาวะที่ดี และการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาอาคารและเมืองที่เน้นความอยู่ดีมีสุข จึงได้จัดหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยเชิงลึกหลายศาสตร์ และประสบการณ์จากการประยุกต์ความรู้สู่โครงการจริง ผ่านการออกแบบผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ พร้อมกระบวนการทำงาน วางแผนและจัดการภาพรวม เพื่อสามารถเชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการเพื่อนำไปสู่ Well-Being (อยู่ดีมีสุข) ครบด้านได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้นำด้าน Well-Being Design & Engineering อีกด้วยกำหนดการหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program ดังนี้
วันที่ 1: วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:30-16:30Introduction: What is Well-Being? (3 ชั่วโมง)
โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน แนะนำหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program และคำนิยามของคำว่า “Well-Being” How to be Well: 3 Key Dimensions for Well-being สร้างความเข้าใจและองค์ประกอบของ Well-Being ทั้ง 3 Dimensions ที่ต้องเรียนรู้ประสานองค์ความรู้1) ด้านความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-being) 2) ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-being) 3) ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Well-being) และองค์ความรู้เกี่ยวกับกรอบการปรับตัว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของทุกชีวิต (Resilience Framework for future Well-Being)
วันที่ 2: วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Well-Being Dimension 1: Emotional Well-Being (3 ชั่วโมง)
โดย ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Behavior & Psychology, Aging Design, Neuroscience for Living Solution และหัวหน้า Happiness Science Hub, RISC 1) Brain & Neuroscience: Ai-based Neuroscience methods for assessing cognitive health and well-being across lifespan2) Human behavior & psychology applied to design 3) Design for all generations (Human Development & Behavior Change)การเรียนรู้การทำงานของสมองด้วยวิธีการทางประสาทวิทยาผ่านสัญญาณสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดและเข้าใจของสมอง และความเป็นอยู่ที่ดีตลอดอายุขัย รวมทั้งการเรียนรู้ พฤติกรรมและจิตวิทยา การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ผลกระทบต่อการรับรู้จากสิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่รอบตัว สรุปเป็นแนวทางในการออกแบบ เพื่อสร้างการรับรู้เชิงบวกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความสุข รวมถึงการหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางใจต่างๆ ได้
วันที่ 3: วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Well-Being Dimension 2: Physical Well-Being (3 ชั่วโมง)
โดย คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP, RISC และ คุณ เพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล สถาปนิกวิจัยอาวุโส / ผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, WELL AP, Fitwel Ambassador, TREES-A NC, RISC 1) Well-being Design 2) Sustainable Design: 7 aspects: Thermal Comfort, Air Quality, Lighting Quality, Acoustic Quality, Health & Safety, Living with Nature, Living Qualityการเรียนรู้สุขภาวะทางกายภาพที่ดี และปัจจัยที่ส่งผลมาจากสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น อากาศ แสง เสียง ธรรมชาติรอบตัวที่เราเห็น ได้ยิน หรือสัมผัส การเรียนรู้วิธีการตรวจสอบและเกณฑ์มาตรฐานของการเลือกวัสดุก่อสร้างเพื่อสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้
วันที่ 4: วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566 เวลา 13:30-16:30 น.การผสานงานระบบเพื่อ Well-Being แบบองค์รวม (3 ชั่วโมง)
โดย คุณ เกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) การนำความรู้ด้านวิศวกรรมงานระบบขั้นสูง สู่การประยุกต์ในกระบวนการพัฒนาโครงการแบบองค์รวม เพื่อสร้างงานระบบแบบใหม่ที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีทั้งภายในอาคารและบริบทรวมของโครงการ
วันที่ 5: วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Well-Being Standard (3 ชั่วโมง)
โดย คุณ สริธร อมรจารุชิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Solution for Well-being, Sustainable Design, Research Integration, RISC การสร้างความเข้าใจ “ความต้องการของมนุษย์ทางด้านสุขภาวะ” ที่สามารถทำได้ด้วยการออกแบบอาคาร เพื่อสร้าง well-being ให้เกิดได้ครบด้านของการอยู่อาศัย ด้วยการนำงานวิจัย สรุปเป็นมาตรฐานเพื่อความอยู่ดีมีสุข หรือ “Well-Being Standard” โดยประยุกต์ทุกส่วนของการพัฒนาโครงการ ได้แก่ สถาปัตยกรรม (Architecture) การออกแบบตกแต่งภายน (Interior Design) การออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape) และอื่นๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะครบด้าน
วันที่ 6: วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Well-Being knowledge integration (3 ชั่วโมง)
โดย ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sustainable Design, Circular Economy, Construction System, Affordable Housing design, RISC การเรียนรู้วิธีการประยุกต์องค์ความรู้ และเคล็ดลับกระบวนการทำงานแบบบูรณาการของการพัฒนาโครงการ และการสร้างกระบวนการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน พร้อมทั้งขั้นตอนการนำความรู้เข้าสู่กระบวนการออกแบบก่อสร้างจริง และการตรวจวัดผลลัพธ์ ผ่านตัวอย่างโครงการจริง (MQDC Sandbox Project) ตลอดจนการคิดและสร้างนวัตกรรม (Sustainnovation) ที่ตอบโจทย์ Pain point ต่างๆ ของการใช้ชีวิต และกระบวนการนำนวัตกรรมใหม่ต่างๆ เข้าไปใส่ในโครงการจริง จนสามารถสร้างโครงการที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (Well-Being)
วันที่ 7: วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Well-being Dimension 3: Environmental Well-Being (3 ชั่วโมง)
โดย คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC และ คุณ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส Sustainable Building Materials, RISC1) Biodiversity (All life & environment benefit) + HV research (info) benefit2) Reduce global resources design (Upcycled Materials)การพัฒนาโครงการโดยลดการสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ให้น้อยที่สุดทำอย่างไร และได้เรียนรู้ Biodiversity Standard สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของโลก เพื่อร่วมรักษาระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืน รวมถึงการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโครงการที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรโลกให้น้อยที่สุด ด้วยการออกแบบใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ปรับกระบวนการก่อสร้างให้ไม่เหลือเศษ การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลและความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศน์
วันที่ 8: วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 13:30-16:30 น.Resilience Framework for Well-Being City (3 ชั่วโมง)
โดย รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สรุปแนวคิดพัฒนาโครงการและเมืองเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการเรียนรู้ Resilience Framework เป็นการวางแผนตั้งแต่ต้น เมื่อเจอปัญหาเฉพาะเจาะจง เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม และพบว่ามีโซลูชั่นมากมายในการแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้สำคัญ ทำให้รู้ว่าเราไม่ต้องพัฒนาบางอย่างแต่สามารถซื้อมาใช้เลย หากบางปัญหาโซลูชั่นแพงไปก็พัฒนามาใช้ หรือ บางปัญหาไม่มีโซลูชั่น ก็สามารถพัฒนามาใช้ได้ เพื่อให้เจาะลงไปถึงปัญหา เป็นโอกาสเติบโตและป้องกันไปพร้อมกัน ทั้งนี้ แนวทาง “Resilient Framework” นับเป็นสิ่งสำคัญ ในการเตรียมตัวสร้างสมาร์ทซิตี้ โดยการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ล่วงหน้า เช่น น้ำท่วม ฯลฯ และหาแนวทางป้องกันปัญหาได้ในการสร้างอาคาร นำ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS มาใช้ สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิด ภัยพิบัติวันที่ 9: วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2566 เวลา 9:00-16:30 น. Well-Being Field Trip & On-site Experience (1 วัน)
การเรียนรู้จากสถานที่จริง โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ดังนี้1) Well-being project Integrated (MQDC Project: The Forestias, 101 TDP, etc.) โดย ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญด้าน Sustainable Design, Circular Economy, Construction System, Affordable Housing design, RISC และ คุณ เพชรรินทร์ พงษ์เพ็ชรกูล สถาปนิกวิจัยอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, WELL AP, Fitwel Ambassador, TREES-A NC, RISC2) Biodiversity survey (The Forestias)โดย คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer RISC และ คุณ กชกร รัตนมา นักวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ RISC3) Brain Lab Experience (BCI @RISC)โดย คุณ ณัฐภัทร ตันจริยภรณ์ นักวิจัยอาวุโส ปฏิบัติการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ RISC และ ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Behavior & Psychology, Aging Design, Neuroscience for Living Solution และหัวหน้า Happiness Science Hub, RISC4) Well-being design Innovation Product (เยี่ยม RISC Lab@BangChaLong) โดย คุณ ชนินทร์ กุลสุรกิจ สถาปนิกวิจัยและผู้เชี่ยวชาญระดับ WELL AP, DGNB International, TREES-A และ DGNB Consultant และ คุณ ณพล เกียรติก้องมณี สถาปนิกวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A, RISCหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program 2023” เป็นศาสตร์ความรู้จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายศาสตร์และนานาชาติ เป็น Proprietary Knowledge รวมทั้งมีสถานที่จำกัด จึงสามารถรับผู้เรียนทั้งหมดได้เพียง 40 ท่านเท่านั้น ทางศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมเรียนรู้และเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนการออกแบบเพื่อความอยู่ดีมีสุข ในหลักสูตร Well-Being Design & Engineering Program ทุกวันศุกร์ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13:30-16:30 น. ณ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ชั้น 4 อาคารแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด กรุงเทพฯ ลงทะเบียนและอ่านเงื่อนไขการรับสมัครได้ที่ https://forms.gle/5y2XHeCS6PE4dNEL8รับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 มกราคม 2566 เท่านั้น!! และจะประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนโดยจะพิจารณาตามความเหมาะสม หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ risc_admin@dtgo.com หรือ 063-902-9346หมายเหตุ: เนื่องจากหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ประจำปี 2566 สามารถรับผู้เรียนได้จำนวนจำกัด 50 ท่าน โดยศูนย์ RISC จะทำการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียนทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่า 90,000 บาทต่อท่าน ดังนั้นหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ขออนุญาตพิจารณารับผู้ที่มีความตั้งใจและมีความพร้อมในการเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 8 ครั้ง (สามารถขาดเรียนได้ 1 ครั้งเท่านั้น) อีกทั้งผู้ที่เข้าเรียนไม่ครบ 8 ครั้งจะไม่ได้รับประกาศนียบัตรจบหลักสูตรฯ รวมถึงถูกตัดสิทธิ์ในการลงทะเบียนร่วมหลักสูตร “Well-Being Design & Engineering Program” ในครั้งต่อไป