RISC

"สภาพแวดล้อมรอบตัว" ​อีกตัวแปรที่เพิ่มแนวโน้มการเกิดโรค NCDs

เขียนบทความโดย RISC | 2 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

2293 viewer

รู้หรือไม่  สภาพแวดล้อมรอบตัว เพิ่มแนวโน้มการเกิดโรค NCDs !!!​

แม้ว่าจะมีข้อมูลมากมายระบุว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs หรือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดต่อหรือการแพร่ระบาด ถึง 37 คนต่อชั่วโมง หรือ 320,000 คนต่อปี แถมยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย​

แล้วกลุ่มโรค NCDs ที่ว่าคือโรคอะไรบ้าง?​

กลุ่มโรค NCDs (Non Communicable Diseases) ก็คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดต่อหรือการแพร่ระบาด โดยโรคอันดับ 1 ที่คนเสียชีวิตมากสุด คือ โรคหลอดเลือดสมอง รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตามลำดับ ซึ่งโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เราทำในชีวิตประจำ อย่างเช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รวมทั้งการไม่ออกกำลังกาย และส่วนมากผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงวัยทำงาน​

แต่เชื่อหรือไม่ ว่านอกจากพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงเหล่านี้แล้ว ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่ศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดโรค NCDs ได้ ซึ่งปัจจัยที่ว่าก็คือ “ด้านสภาพแวดล้อม” (Environmental Factors) งั้นเราลองไปดูตัวอย่างงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมมีส่วนที่ทำให้เกิดโรค NCDs ได้อย่างไร?​

สถาบัน Netherlands Institute for Neuroscience (NIN) ได้ใช้หนูทำการทดลองเกี่ยวกับเรื่องการรับแสงในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า การได้รับแสงในช่วงเวลากลางคืน จะทำให้ร่างกายขาดสมดุลในการต้านทานกลูโคส แต่ก็ขึ้นอยู่กับคลื่นแสงในแต่ละช่วงด้วยเช่นกัน โดยแสงสีขาวที่ความสว่าง 50-150 lux จะกระตุ้นให้ร่างกายมีระดับกลูโคสสูงกว่าแสงในระดับ 5-20 lux และคลื่นแสงสีเขียวในช่วง 520 nm จะมีปฏิกิริยากับการต่อต้านกลูโคสของร่างกายหนู แต่แสงสีแดงและสีน้ำเงินนั้นไม่ส่งผลต่อระดับกลูโคส จึงนำไปสู่ข้อระวังว่า การได้รับแสงในช่วงเวลากลางคืนนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยรายงานเพิ่มเติมอีกว่า การได้รับแสงตอนกลางคืนนั้นจะกระทบกับระบบนาฬิกาชีวิตของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย พบว่าระดับความดันโลหิตนั้นสูงขึ้น 3–4 mmHg ต่อความเข้มแสงที่ระดับ 5 lux ซึ่งระดับความดันนั้นเชื่อมโยงไปสู่ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง​

นอกจากแสงที่ใกล้ตัวเราแล้วนั้น เรื่องของเสียงก็มีผลด้วยเช่นกัน โดยมีงานวิจัยที่ระบุว่า การได้รับมลภาวะทางเสียงต่อเนื่องกันจะทำให้ร่างกายหลั่งคอร์ติซอล (Cortisol) มากขึ้น ซึ่งคอร์ติซอลนี้ ก็คือ ฮอร์โมนความเครียดนั่นเอง นอกจากนี้มลภาวะทางเสียงจากการจราจร ก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจตามมา และหากร่างกายได้รับมลภาวะทางเสียงจากเครื่องบินต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมง ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉียบพลันขณะหลับตอนกลางคืนอีกด้วย​

แม้แต่ปัญหามลภาวะทางอากาศ ก็มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า มีการเชื่อมโยงไปสู่การเกิดโรคมากมาย ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคไต (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/3YQxLGq)​

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างงานวิจัยที่รายงานไปทิศทางเดียวกันว่า สภาพแวดล้อม (Environmental Factors) นั้นส่งผลและเชื่อมโยงไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดโรค NCDs ได้ และคงจะดีไม่น้อย หากเรานำความรู้ความเข้าใจในการออกแบบอาคารและที่อยู่อาศัย มาใช้เพื่อช่วยลดปัจจัยต่างๆ ที่จะนำไปสู่การเกิดโรคกลุ่ม NCDs

เนื้อหาโดย คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP, RISC

แนะนำสำหรับคุณ

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว
Happiness Science

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life
Happiness Science

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด
Happiness Science

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?
Happiness Science

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​
Happiness Science

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?
Happiness Science

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?
Happiness Science

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ
Happiness Science

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม
Happiness Science

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก
Happiness Science

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก