RISC

จะปีนี้หรือปีหน้า ประเทศไทยก็จะเจอวิกฤตภัยแล้ง

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

1807 viewer

เข้าฤดูฝนแล้ว...แต่ทำไมกลับฝนไม่มาตามนัด?​

แน่นอนว่าหลายคนอาจจะแปลกใจ เพราะโดยปกติ เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคมของทุกปี เราย่อมรู้ดีว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ปีนี้มันไม่เป็นอย่างนั้น ฤดูฝนมาช้า ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง จนนำไปสู่ “ภัยแล้ง”​

สาเหตุที่ฤดูฝนผิดปกติ และทำให้เราประสบภัยแล้ง คงหนีไม่พ้นปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ที่รุนแรงมากกว่าปกติ ผลพวงจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งจากบทความก่อนหน้านี้ (http://bit.ly/3FROVvF) ได้บอกแล้วว่า เราจะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่ยาวนานขึ้น​

จากรายงานขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) และ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร UK Met Office ระบุว่าในปี 2024 ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ก็ยังคงอยู่กับเรา และแน่นอนว่าทั่วโลกก็จะประสบปัญหาภัยแล้งเช่นเดียวกัน​

“ภัยแล้ง” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำจากปริมาณของน้ำฝนที่ตกลงมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในสภาวะปกติ ส่งผลให้ความชื้นในดิน ปริมาณน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดินลดลงจนแห้งแล้ง มีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รู้คุณค่า รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่าและทำลายแหล่งต้นน้ำ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศ เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ป่า ป่าไม้ พืชพรรณในธรรมชาติล้มตายจากการขาดแคลนน้ำ และยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราเอง​

สิ่งสำคัญที่ภาครัฐ ผู้วางแผนพัฒนาเมือง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรมุ่งเน้นในการวางแผนรับมือกับภัยแล้งระยะยาว ก็คือ การบริหารจัดการน้ำ การกักเก็บน้ำ และการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยในการกักเก็บน้ำ และผลิตน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค รวมถึงประกอบกิจกรรมทางการเกษตร มาใช้อย่างจริงจัง​

ฟังดูเหมือนไกลตัวและทำอะไรไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วเราทำได้!!! ถึงแม้ว่าเราจะไม่ใช่บุคลากรรัฐ หรือผู้พัฒนาเมือง แต่เราต้องไม่ลืมว่า เราคือ 1 ในประชากรโลกที่ต้องใช้น้ำในการดำรงชีวิต ซึ่งน้ำจืดเป็นทรัพยากรโลกที่มีอยู่เพียงแค่ร้อยละ 1 จากปริมาณน้ำทั้งหมดบนโลก เราจึงควรตระหนัก รู้คุณค่าของน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้โลกใบนี้น่าอยู่สำหรับเราและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต่อไป​

เนื้อหาโดย คุณ ศิรพัชร มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS), RISC ​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://www.tmd.go.th/media/climate/seasonal_announce/rainy-season-2566-announcement.pdf​
https://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitoring/lanina/enso_evolution-status-fcsts-web.pdf​
https://www.cnbc.com/2023/02/10/el-nino-earth-could-overshoot-1point5-degrees-for-the-first-time-in-2024.html​
http://ndwc.disaster.go.th/cmsdetail.ndwc-9.283/26675/menu_7525/4214.1/​
https://ngthai.com/environment/47937/drought/​
https://ngthai.com/science/30230/hydroresourcestory/​

แนะนำสำหรับคุณ

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?
Resilience

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?