RISC

ก่อนทำบ้านให้เย็นสบาย .... เรามาเข้าใจสภาพภูมิอากาศกัน

เขียนบทความโดย RISC | 4 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

30449 viewer

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นขอแนะนำตัวว่าเราเป็นทีมนักวิจัยฯ ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่จะมาเล่าเกร็ดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างความสบายภายในบ้านในรูปแบบต่างๆ ให้กับเพื่อนผู้อ่านได้รับรู้เป็นตอนสั้นๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจและนำเทคนิคต่างๆ ไปปรับใช้ได้ด้วยตัวเองกันนะคะ  

เนื้อหาของตอนแรกนี้ ก่อนที่เราจะทำบ้านให้เย็นสบายกันนั้น ขอแนะนำให้ “รู้จัก” และ “เข้าใจ” เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรากันก่อนเพื่อการนำเทคนิคต่างๆ ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปค่ะ

แน่นอนว่าทุกคนคงอยู่ในเมืองไทย ที่มีสภาพอากาศอย่างนี้มาตั้งแต่เกิดแล้ว แต่คราวนี้เราจะมา “รู้และเข้าใจ” ที่มาของปัญหาการเกิดความร้อนจนอยู่ในบ้านแล้วรู้สึกไม่สบาย และความเข้าใจจะทำให้เรารู้ว่าจะจัดการกับสิ่งที่เป็นอยู่นี้อย่างไรให้เกิดความเย็นสบายกัน

 

สภาพอากาศบ้านเราเป็นยังไง

ประเทศไทยของเรามีอุณหภูมิอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี

§  อุณหภูมิอากาศตอนกลางวันอยู่ระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 50-70%RH

§  ตอนกลางคืนอยู่ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 70-90%RH

โดยทั่วไปคนเราจะรู้สึกสบาย หรือที่เรียกว่า “สภาวะน่าสบาย” เมื่ออุณหภูมิอากาศอยู่ที่ 22-27 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 20-75%RH ซึ่งสภาพอากาศบ้านเราไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวอยู่ตลอดค่ะ แต่หากสามารถปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านด้วยร่มเงา ต้นไม้ และละอองน้ำ จะช่วยให้อุณหภูมิรอบบ้านลดลงได้ และอยู่ในทิศที่ลมพัดผ่านเข้าบ้าน ก็จะช่วยให้พัดพาอุณหภูมิที่เย็นลงนั้นเข้าบ้านมาสร้างความรู้สึกเย็นลงได้อีกด้วย

 

แล้วลมประจำ....พัดมาทางทิศไหน

ความจริงแล้วลมจะมาจากทุกทิศทาง แต่จะมีทิศทางที่ลมพัดประจำอยู่ ช่วงของปี คือ

§  ช่วงเดือนกุมภาพันธ์  กันยายน ลมประจำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้

§  ช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม ลมประจำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศเหนือ

และขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศที่บ้านเราไปตั้งอยู่ด้วย เช่น ติดภูเขา แม่น้ำ หรืออาคารสูง ซึ่งจะทำให้ทิศทางของลมเปลี่ยนไปตามการกระทบและไหลของลม

ช่วงเวลาที่เราต้องการลมเพื่อการสร้างความรู้สึกสบายจะเป็นช่วงฤดูร้อน หรือช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งมีทิศลมประจำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ ดังนั้น ช่องเปิดของบ้านควรหันมาทางทิศนี้ แต่ควรมีการปรับสภาพแวดล้อมให้อุณหภูมิลดลงก่อน ด้วยการสร้างร่มเงา ปลูกหญ้า ต้นไม้ และการระเหยของน้ำ เพื่อให้ลมพัดพาอุณหภูมิที่เย็นลงแล้วนั้นเข้ามาสร้างความสบายภายในบ้าน

แสงแดดมาพร้อมความร้อน...จากทางทิศไหน

การขึ้น-ลงของดวงอาทิตย์มีผลต่อความร้อนโดยตรง แต่ละวันแสงแดดตอนเช้าเริ่มจากทางทิศตะวันออก อ้อมเอียงไปทางทิศใต้ (หรือเหนือ) และเอียงต่ำทางทิศตะวันตกในตอนเย็น

§  แดดเอียงอ้อมไปทางทิศเหนือ ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม (4 เดือน)

§  แดดเอียงอ้อมไปทางทิศใต้ ช่วงเดือนมกราคม  เมษายน และเดือนกันยายน – ธันวาคม (8 เดือน)

การเอียงทำมุมกับอาคารนี้เองที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน หากเราเข้าใจจะสามารถหันทิศทางอาคารในทิศที่โดนแดดน้อยได้ หรือการบังแดดในทิศที่ได้รับอิทธิพลจากแสงแดดโดยตรง

นอกจากนั้น ช่วงบ่ายที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดของวันประกอบกับทิศทางการเอียงของแสงแดด ทำให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันตกได้รับอิทธิพลจากแสงแดดเฉลี่ยมากที่สุดตลอดทั้งปี ดังนั้น อาคารต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงการทำผนังในทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศตะวันตก เพื่อลดพื้นที่การรับอิทธิพลจากแสงแดดให้มากที่สุด

 

เมื่อเรา “รู้และเข้าใจ” สภาพอากาศบ้านเราแล้ว ตอนต่อไปจะเป็นการแนะนำเทคนิคทำให้บ้านของเราเย็นขึ้น แนวทางการออกแบบที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความร้อนให้กับอาคาร พร้อมกับแนวทางการเพิ่มความรู้สึกสบายภายในอาคารกันนะคะ

 

แบ่งปันข้อมูล ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด

 

http://www.magnolia.co.th/th/project/story.php

 

แนะนำสำหรับคุณ

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?
Resilience

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?