RISC

Code Red สัญญาณเตือนวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

2994 viewer

ที่ผ่านมา เราคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงทั่วโลกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งนั่นกำลังเป็นสัญญาณอะไรบางอย่างที่กำลังบอกเราอยู่หรือเปล่า?​

จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ ได้ยืนยันว่าโลกเราร้อนขึ้นแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส และมนุษย์คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกรวนนี้ขึ้น ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ไม่ว่าจะเป็น การเกิดคลื่นความร้อนจัด ฝนตกถล่มอย่างหนักในหลายพื้นที่และเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ​

นอกจากนี้ ระดับน้ำทะเลยังสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็ง และการขยายตัวของน้ำในมหาสมุทรจากความร้อนที่สะสมในน้ำทะเล โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนั้นสูงขึ้นเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนปี ค.ศ.1971 จาก 1.3 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงปี 1901 - 1971 เป็น 3.7 มิลลิเมตรต่อปีในช่วงปี 2006 - 2018​

นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติแถลงว่า นี่เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกได้เข้าสู่ระดับสีแดง (Code Red) สำหรับมนุษยชาติแล้ว การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 จึงเป็นหมุดหมายสำคัญ เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก พร้อมกับการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดจากภาวะโลกรวนอีกด้วย ​

สำหรับประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวนเช่นกัน ซึ่งหลักๆ ก็จะมีความเสี่ยงจากน้ำทะเลหนุนสูง ปริมาณน้ำฝนที่ตกชุกและรุนแรง รวมไปถึงภัยแล้งที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดบ่อยและรุนแรงมากขึ้น การปรับตัวให้พร้อมรับมือจึงเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ​

หากเหลียวมองดูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์ก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงจากน้ำทะเลหนุนสูงและผลกระทบจากภาวะโลกรวน แต่สิงคโปร์มีการวางแผนเพื่อรับมือไว้เรียบร้อยแล้ว โดยประกาศเป็นเป้าหมาย Resilient Future ที่ประกอบด้วย​
1. มาตรการเพิ่มปกป้องชายฝั่งและภัยน้ำท่วม​
2. เพิ่มขีดความสามารถการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ​
3. ลดการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง​

จึงเป็นที่น่าสนใจว่า หลายมาตรการของสิงคโปร์นั้น เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยได้ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำทะเลหนุนสูงและปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และอาจจะมองไปถึงปัญหาอื่นๆ ที่มีแนวโน้ม หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย เพื่อการตั้งรับ และรับมือได้ล่วงหน้า​

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
1. https://www.ipcc.ch/report/sixth-assessment-report-cycle/​
2. https://www.greenplan.gov.sg/key-focus-areas/resilient-future/​

แนะนำสำหรับคุณ

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke