RISC

"Marine Heatwave" ภัยความร้อนในมหาสมุทรที่เกิดจากฝีมือเราเอง

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

2320 viewer

ปีนี้เป็นอีกปีที่เรารับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่ร้อนจัดผิดปกติ ฤดูฝนมาช้าและตกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่รู้หรือไม่?...ยังมีอีก 1 สัญญาณเตือนที่สำคัญถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เราอาจจะไม่ได้รับรู้โดยตรง​

นั่นคือ การเกิด "คลื่นความร้อนในมหาสมุทร” หรือที่เรียกว่า Marine Heatwave นั่นเอง​

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยผิวน้ำทั่วโลกสูงขึ้นผิดปกติ ทำลายสถิติเดิมในปี 2016 ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของทุกๆ เดือนนับตั้งแต่ปี 1991 ทำให้ในตอนนี้โลกกำลังประสบปัญหาคลื่นความร้อนในมหาสมุทรครอบคลุมถึง 48% ของมหาสมุทรทั่วโลก ทั้งในบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก, แปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ, แปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ, แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ใกล้ประเทศนิวซีแลนด์, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลโอค็อตสค์, ทะเลแคริบเบียน, อ่าวเม็กซิโก และตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่ง Marine Heatwave Forecast Monthly Report ขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) คาดการณ์ว่า คลื่นความร้อนในมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50% ของมหาสมุทรทั่วโลกไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า​

แล้ว...คลื่นความร้อนในมหาสมุทรคืออะไร แล้วส่งผลอะไรกับเรา?​

คลื่นความร้อนในมหาสมุทร คือ ปรากฎการณ์อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติเป็นระยะเวลานาน อาจจะเป็นสัปดาห์ เดือน หรือหลายปี และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในมหาสมุทร โดยมีสาเหตุมาจากการดูดซับความร้อนจากพื้นผิวโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากักเก็บไว้ในมหาสมุทรหรือทะเลมากเกินไป ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำสูงกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในมหาสมุทรและชุมชนชายฝั่ง สายใยอาหาร (Food Web) ในทะเลถูกทำลาย เกิดปะการังฟอกขาว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล และนกทะเลจำนวนมากต้องตายเป็นจำนวนมหาศาล และสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ คลื่นความร้อนในมหาสมุทรยังมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะเกิด "สภาพอากาศสุดขั้ว" (Extreme Weather) ทำให้ฝนตกหนัก เกิดพายุที่รุนแรงมากกว่าปกติ และยังส่งผลต่อน้ำแข็งในทะเล เกิดความเสี่ยงที่จะละลายตัวอย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกมีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกด้วย​

"มหาสมุทรเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดของโลก การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรนั้น ย่อมส่งผลให้เกิดภัยอันตรายที่สร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโลก" โดยต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนในมหาสมุทร ก็มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากฝีมือของพวกเรากันเอง ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำกิจกรรมของเรา และของทุกภาคส่วน จึงเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตสามารถอาศัยอยู่บนโลกต่อไปได้ในอนาคต​

เนื้อหาโดย คุณ ศิรพัชร มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS), RISC ​

อ้างอิงข้อมูลจาก ​
https://psl.noaa.gov/marine-heatwaves/#report​
https://marine.copernicus.eu/explainers/phenomena-threats/heatwaves​

แนะนำสำหรับคุณ

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke