ข่าวสาร
Jun 05, 2019 INNOVATION
WATS Forum ร่วมแบ่งปันแนวคิดสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
'วันที่ 3 มิถุนายน 2562, กรุงเทพฯ – WATS Forum งานเสวนาด้านความยั่งยืนเชิญ 4 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน ณ บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
งาน WATS Forum จัดโดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้ MQDC โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านได้แก่มร. ดาโช เชอริง ต็อบเกย์ อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศภูฏาน ศาสตราจารย์ไมเคิล สตีเวน สตราโน จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และมร. สเตฟาน เดอ โคนิง จากสำนักงานออกแบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังระดับโลก MVRDV
RISC มีความปรัชญาในการทำงานเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้หรือ for all well-being ดังนั้น WATS Forum จึงมาจากคำว่าความเป็นอยู่ท่ีดีหรือ Well-being สถาปัตยกรรมหรือ Architecture เทคโนโลยีหรือ Technology และความยั่งยืนหรือ Sustainability
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC กล่าวตอนเปิดงานว่า “การทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนหรือ Sustainable well-being ต้องอาศัยความพยายามและความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง การทำงานกันแต่ภายในองค์กรหรือการไม่เผยแพร่องค์ความรู้ต่อสาธารณะจะทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างโลกให้มีความสุขได้”
มร. ดาโช เชอริง ต็อบเกย์ พูดถึงความมุ่งมั่นของประเทศภูฏานที่มีต่อแนวคิด Gross National Happiness หรือ GNH “เรานำวิธีการแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม การป้องกัน ความปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจให้กับคนในประเทศ เพื่อเติมเต็มศักยภาพทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณให้กับทุกคนในฐานะมนุษยชาติ” มร. ต็อบเกย์ กล่าว
ศาสตราจารย์ไมเคิล สตีเวน สตราโน ได้นำเสนอเกี่ยวกับ nanobionics รวมถึงศักยภาพ ในการพัฒนาต้นไม้เรืองแสง “ต้นไม้พวกนี้จะมาแทนที่เสาไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช่พลังงาน ถือเป็นการลดความต้องการการใช้พลังงานอีกทางหนึ่ง” ศาสตรจารย์สตราโน กล่าว
รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ กล่าวถึงผลงานในส่วนของการพัฒนาคอมพิวเตอร์สมองหรือ brain-computer interface (BCI) เพื่อเปลี่ยนชีวิตและเพิ่มความสะดวกให้กับกลุ่มคนทุพลภาพ “ผมต้องการสร้างโอกาสให้พวกเขาสามารถเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายได้ด้วยตัวเอง เพราะนั่นคือความฝันของพวกเขา”
มร. สเตฟาน เดอ โคนิงได้แบ่งปันแนวคิดเพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองสีเขียวอย่างยั่งยืน “คำถามคือเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต...ในขณะที่เติบโตในเมืองได้อย่างไร” มร. โคนิง กล่าวต่อ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรานำพื้นที่หรือทรัพยากรของแต่ละซอยในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจมากองรวมกัน”
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโตกล่าวสรุปเสริมว่า “หากเราทุกคนให้ความสำคัญกับสังคมและ สิ่งแวดล้อมก่อนคิดถึงตัวเอง เราอาจจะมีโอกาสในการสร้างอนาคตที่มีความสุขได้” รศ.ดร. สิงห์ กล่าว
งาน WATS Forum จัดโดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนหรือ RISC ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยภายใต้ MQDC โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านได้แก่มร. ดาโช เชอริง ต็อบเกย์ อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศภูฏาน ศาสตราจารย์ไมเคิล สตีเวน สตราโน จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล และมร. สเตฟาน เดอ โคนิง จากสำนักงานออกแบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังระดับโลก MVRDV
RISC มีความปรัชญาในการทำงานเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้หรือ for all well-being ดังนั้น WATS Forum จึงมาจากคำว่าความเป็นอยู่ท่ีดีหรือ Well-being สถาปัตยกรรมหรือ Architecture เทคโนโลยีหรือ Technology และความยั่งยืนหรือ Sustainability
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์ RISC กล่าวตอนเปิดงานว่า “การทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนหรือ Sustainable well-being ต้องอาศัยความพยายามและความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง การทำงานกันแต่ภายในองค์กรหรือการไม่เผยแพร่องค์ความรู้ต่อสาธารณะจะทำให้เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างโลกให้มีความสุขได้”
มร. ดาโช เชอริง ต็อบเกย์ พูดถึงความมุ่งมั่นของประเทศภูฏานที่มีต่อแนวคิด Gross National Happiness หรือ GNH “เรานำวิธีการแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม การป้องกัน ความปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจให้กับคนในประเทศ เพื่อเติมเต็มศักยภาพทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณให้กับทุกคนในฐานะมนุษยชาติ” มร. ต็อบเกย์ กล่าว
ศาสตราจารย์ไมเคิล สตีเวน สตราโน ได้นำเสนอเกี่ยวกับ nanobionics รวมถึงศักยภาพ ในการพัฒนาต้นไม้เรืองแสง “ต้นไม้พวกนี้จะมาแทนที่เสาไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช่พลังงาน ถือเป็นการลดความต้องการการใช้พลังงานอีกทางหนึ่ง” ศาสตรจารย์สตราโน กล่าว
รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ กล่าวถึงผลงานในส่วนของการพัฒนาคอมพิวเตอร์สมองหรือ brain-computer interface (BCI) เพื่อเปลี่ยนชีวิตและเพิ่มความสะดวกให้กับกลุ่มคนทุพลภาพ “ผมต้องการสร้างโอกาสให้พวกเขาสามารถเคลื่อนไหวหรือขยับร่างกายได้ด้วยตัวเอง เพราะนั่นคือความฝันของพวกเขา”
มร. สเตฟาน เดอ โคนิงได้แบ่งปันแนวคิดเพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองสีเขียวอย่างยั่งยืน “คำถามคือเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต...ในขณะที่เติบโตในเมืองได้อย่างไร” มร. โคนิง กล่าวต่อ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเรานำพื้นที่หรือทรัพยากรของแต่ละซอยในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัยและย่านธุรกิจมากองรวมกัน”
รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโตกล่าวสรุปเสริมว่า “หากเราทุกคนให้ความสำคัญกับสังคมและ สิ่งแวดล้อมก่อนคิดถึงตัวเอง เราอาจจะมีโอกาสในการสร้างอนาคตที่มีความสุขได้” รศ.ดร. สิงห์ กล่าว
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)
บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
เลขที่ 695 หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
เวลาทำการ
วันจันทร์ – ศุกร์ | 11.00 – 17.00 น.
แผนที่ที่ตั้ง
ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า
1265
การเป็นสมาชิกของ RISC
ลงชื่อเข้าเป็นสมาชิกฟรี เพื่อรับสิทธิ์ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งห้องสมุด Eco-Material
เยี่ยมเยียนเราได้
ตั้งอยู่ที่โครงการมิกซ์ยูสแมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด เพียงไม่กี่ก้าวจากรถไฟฟ้า
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
หากคุณเป็นผู้จัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เราพร้อมรับฟังไอเดียของคุณ
นักลงทุน และ นักศึกษา
RISC สนับสนุนนักเรียนนักศึกษา และคนรุ่นใหม่ไฟแรงในสาขาวิศวกรรม การออกแบบ และสถาปัตยกรรม