News | ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) งานวิจัย 5 ด้านหลักเพื่อ Well-being - RISC

ข่าวสาร

/storage/uploads/news/risc-02-23.jpg

Nov 04, 2022 INNOVATION

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) งานวิจัย 5 ด้านหลักเพื่อ Well-being

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center; RISC) บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เป็นศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาที่เน้นนวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกของเอเชีย ประกอบด้วยเครือข่ายนักวิจัย นวัตกร ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้ผลิต เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในโลก รวมไปถึงการฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล เอื้อต่อการใช้ชีวิตของทุกสรรพสิ่งได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพ และยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (Vision): “ เรามุ่งมั่นในการสร้างสุขภาวะของทุกสรรพสิ่ง และส่งเสริมการสร้างความยั่งยืน และการฟื้นฟูของสิ่งแวดล้อมด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ”

พันธกิจ (Mission): “ เป็นศูนย์นวัตกรรมที่สรรค์สร้างเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากเครือข่ายงานวิจัยและนวัตกรที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยและผู้ผลิตที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำไปสู่การยอมรับด้านการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีชั้นนำเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสรรพสิ่งบนโลกในระดับสากล ”

จากพันธกิจ (Mission) ของ RISC ทำให้ RISC เป็นหน่วยงานวิจัยที่รวบรวมบุคคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่มีความหลากหลายในสาขาวิชาชีพที่สามารถนำมาซึ่งความรู้ใหม่ที่มาพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ อาทิเช่นสาขา วิจัย วิทยาศาสตร์ สถาปนิก วิศวกร ออกแบบ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และนิเวศวิทยา ทำให้การวิจัยของ RISC มีความหลากมิติในการวิจัยซึ่งนำมาถึงความรู้และนวัตกรรมที่ถูกนำเข้าไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบในโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง

ผลงานวิจัยที่เราศึกษาและค้นคว้าขึ้น ไม่เพียงเพื่อนำมาใช้เฉพาะกับโครงการต่าง ๆ ขององค์กรเท่านั้น แต่ยังพร้อมเปิดพื้นที่วิจัยนี้ให้กับทุกคน ทุกองค์กร ที่สนใจด้านการพัฒนาและก่อสร้างอย่างยั่งยืน เสมือนห้องค้นคว้าของประชาชน บุคคลภายนอกได้เข้ามาเรียนรู้ นำไปประยุกต์ใช้จริง เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) งานวิจัย 5 ด้านหลักเพื่อ Well-being

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) มุ่งมั่นในการดำเนินงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ สำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับสรรพสิ่งบนโลก หรือ For All Well-Being พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะเป็นศูนย์วิจัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน ก่อให้เกิดเป็นงานวิจัยใน 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ครอบคลุมทุกด้านในเรื่องของ Well-being ดังนี้

ความเป็นมาและความรู้จากงานวิจัย 5 ด้านหลัก
สามารถดูย้อนหลังได้จาก RISC Talk 2022 ทั้ง RISC 5 Research Hubs ได้ที่ https://bit.ly/3SSXbjo

1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants & Biodiversity)
กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาสัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริมและเกื้อกูลกัน สร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่งมีชีวิต สร้างระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืน รวมถึงวิจัยดึงศักยภาพของต้นไม้สร้างประโยชน์อย่างคาดไม่ถึงได้ Researching animals, plants, and organisms to build quality of life for all life and apply the potential of trees for unexpected benefits สอดคล้องกับ SDGs: 2,11,13,14,15

การศึกษาและวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดขึ้นจากความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการลดลงของพื้นที่สีเขียวในเมืองซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศโดยรวม จึงมีการศึกษาและวิจัยให้เกิดการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการสร้างกระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการพัฒนาเมือง สามารถทำได้ไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศอย่างเข้าใจ และถูกต้องตามวัฏจักรชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิต เกิดความสมดุลและสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริมและเกื้อกูลกัน และวิจัยหาและส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับทุกสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศที่ดีและยั่งยืนได้

2. คุณภาพอากาศ (Air Quality)
กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น Developing innovations for good air quality both indoors and outside สอดคล้องกับ SDGs: 3,6,7,11,12,13,14,15

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร (Outdoor & Indoor Air Quality)
การดูแลและรักษาคุณภาพภายในอาคารที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรง ตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกล ตลอดจนกระบวนการก่อสร้าง ที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร และจากสภาพอากาศปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงของทุกคน และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมในด้านต่างๆ อย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย จำเป็นที่ต้องมีงานวิจัยที่ช่วยลดปัญหาทางด้านอากาศทั้งภายในและภายนอกอากาศ ด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

3. ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science)
กลุ่มงานวิจัยเพื่อสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและความสุขได้
Enhancing human happiness through behavioral studies and psychology, looking at brain signals and applying science for good feelings สอดคล้องกับ SDGs: 3,5

การศึกษาและวิจัยเพื่อสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย ด้วยการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ผลกระทบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ความเครียดและความกังวลของวัยผู้ใหญ่ ความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อหาปัจจัยในการส่งเสริมในแต่ละช่วงวัยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และนำความรู้ประยุกต์การออกแบบให้สอดคล้องและเอื้อต่อการใช้ชีวิต ส่งเสริมปฎิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกัน นอกจากนั้นยังทำวิจัยด้านประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญานสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าใจการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ จากสภาพแวดล้อมรอบตัว ข้อมูลที่เก็บและแปลผลจากสัญญานสมองนำมาประยุกต์ใช้สร้างสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างการรับรู้เชิงบวกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างความสุข รวมถึงการหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ทั้งภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ และประยุกต์ความรู้สู่การช่วยเหลือคนและสังคมในวงกว้างต่อไป

4. วัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials & Resources)
กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาและวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร การใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต
Researching building materials that are safe for nature and residents, using renewables and reducing carbon footprint through technology สอดคล้องกับ SDGs: 3,6,7,11,12,13,14,15

การศึกษาและวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงการใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกที่นับวันจะน้อยลงเรื่อยๆ ได้ หรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการวิจัยเชิงลึกเพื่อพัฒนาวัสดุใหม่ (Innovation materials) เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being materials) ทั้งการเพิ่มความคงทนของวัสดุรองรับการใช้งานได้ยาวนาน วัสดุที่มีความปลอดภัยช่วยลดแนวโน้มอุบัติเหตุ วัสดุที่ปลอดสารพิษลดแนวโน้มความเจ็บป่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี วัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน ตลอดจนวัสดุที่ใช้ทรัพทยากรคุ้มค่า ตลอดจนปรับกระบวนการก่อสร้างให้ไม่เหลือเศษ การนำขยะมาพัฒนาเป็นวัสดุก่อสร้าง และด้านอื่นๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโลกที่เกิดอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มจะมีปัญหาในอนาคตด้วย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับมนุษย์และโลกของเรา

5. ศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)
กลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาแนวทางการรับมือกับสิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเรา จนนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ในอนาคต ลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
Exploring how to cope with coming changes and developing cities that safeguard sustainable life quality สอดคล้องกับ SDGs: 1,3,7,9,11,12,13,17

การศึกษาและวิจัยในปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าเมืองและโลกของเรา ทั้งปัญหามลภาวะอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน (climate change) เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงเกิดการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อสามารถตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะที่เหตุการณ์รบกวนนั้นกำลังเกิดขึ้น และการฟื้นฟูภายหลังเหตุการณ์รบกวนนั้นผ่านไปแล้ว เพื่อสร้างการ “อยู่รอด (survive) ปรับตัว (adapt) และเติบโต (grow)” ได้ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

ความสอดคล้องของงานวิจัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

งานวิจัยทั้ง 5 ด้านมีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับทุกชีวิต โดยปัจจุบันงานวิจัย 5 ด้านนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 ข้อ จากทั้งหมด 17 เป้าหมายด้วยกัน เพื่อร่วมแนวคิดในการเปลี่ยนโลก ตระหนักถึงชุมชน สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อนำเป็นพื้นฐานของกระบวนความคิดและการวิจัยภายใต้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน ได้แก่

งานวิจัย 5 ด้าน มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ซึ่งแต่ละเป้าหมายได้สะท้อน ‘3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน’ (Three Pillars of Sustainability) และอีก 2 มิติ รวมเรียกว่า 5 Ps โดยงานวิจัยของ RISC มีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) มากถึง 4 มิติ และ 13เป้าหมาย ประกอบด้วย

People (มิติด้านสังคม): เป้าหมายที่ 1-5
เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ (No Poverty)
เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (Zero Hunger)
เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย (Good Health and Well-being)
เป้าหมายที่ 5 : บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมอำนาจให้แก่สตรีและเด็กหญิง (Gender Equality)

Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ): เป้าหมายที่ 7-11
เป้าหมายที่ 7 : สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา (Affordable and Clean Energy)
เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (Industry, Innovation and Infrastructure)
เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities)

Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม) : เป้าหมายที่ 6, 12-15
เป้าหมายที่ 6 : สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนคน (Clean Water and Sanitation)
เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
เป้าหมายที่ 13 : ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Climate Action)
เป้าหมายที่ 14 : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Life Below Water)
เป้าหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Life on Land)

Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา): เป้าหมายที่ 17
เป้าหมายที่ 17 : เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships to achieve the Goal)

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
เลขที่ 695 หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540


เวลาทำการ
วันจันทร์ – ศุกร์ | 11.00 – 17.00 น.


แผนที่ที่ตั้ง
ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า 1265
© 2024 Magnolia Quality Development Corporation Limited - A DTGO Company
ผลลัพธ์
การยืนยัน
การยืนยัน