RISC

ฉลากด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง?

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

2864 viewer

ต้องยอมรับว่า กระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นสิ่งที่คนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การเลือกสินค้าบริโภคที่จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม​

แต่...เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าผลิตภัณฑ์ในมือเราที่เราซื้อมานั้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน​

ISO หรือ International Standardization and Organization องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ได้มีมาตรฐานที่เกี่ยวกับฉลากด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถใช้มาตรฐานนี้มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ ดังนี้​

ประเภทที่ 1 ISO 14024:1999 เป็นการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประเมินด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third Party) ซึ่งเป็นการใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Consideration) เช่น ฉลากเขียว จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย​

ประเภทที่ 2 ISO 14021: 2001 ผู้ผลิตเป็นผู้แสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง ฉลากประเภทนี้จะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล

และประเภทที่ 3 ISO 14025: 2006 เป็นมาตรฐานของฉลากที่บ่งบอกผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) ซึ่งฉลากนี้จะมีหน่วยงานอิสระ หรือองค์กรกลางตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เช่น Environmental Product Declaration (EPD)​

หากเปรียบเทียบให้เข้าใจได้ง่าย EPD ก็เปรียบเหมือนฉลากที่บอกส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ วิธีการผลิต พลังงานที่ใช้ ตลอดจนการจัดการของเสียหลังการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ทำให้ทราบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดอายุขัยของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ประโยชน์สำหรับผู้บริโภคอีกด้านหนึ่ง คือ ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบข้อมูลจาก EPD เพื่อประกอบการตัดสินใจ ทำให้มั่นใจได้ว่าเลือกผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง​

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC ​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://packaging.oie.go.th/new/admin_control_new/html-demo/file/2305416789.pdf​
https://www.wazzadu.com/article/6665​

แนะนำสำหรับคุณ

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?
Resilience

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน