RISC

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

1624 viewer

ตั้งแต่กุมภาพันธ์มาจนถึงเดือนนี้ คงไม่มีใครที่ไม่บ่นเรื่องอากาศร้อน แต่ที่หนักกว่าคือสถานการณ์ในตอนนี้เป็นเพียงแค่สัญญาณเริ่มต้นเท่านั้นเอง​

อย่างที่เรารู้กันว่าในปีนี้ ปรากฏการณ์เอลนีโญรวมกับผลกระทบจากภาวะโลกรวน จะทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนสุดขั้วได้มากขึ้น จนอาจส่งผลให้คนเกิดภาวะโรคลมแดดได้ง่ายขึ้น​

โรคลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heatstroke) เกิดจากการที่ร่างกายคนเราไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ คือ...​
• โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลัง เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหมเกินไปในสภาพอากาศร้อนจัดและความชื้นสูง​
• โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก เกิดจากการอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเวลานาน มักพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางประการ​

โดยอาการของโรคลมแดด เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น จะทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาการอื่นที่พบได้ ก็มีตั้งแต่หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง ปวดศีรษะ หน้ามืด อ่อนแรงและคลื่นไส้​

หากพบผู้มีอาการของโรคลมแดด ให้รีบลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วย โดยให้รีบพาเข้าที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แล้วใช้น้ำแข็งประคบตามหน้าผาก คอ รักแร้ ขาหนีบ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว​

สำหรับแนวทางป้องกันโรคลมแดด หากจำเป็นต้องอยู่ในที่อุณหภูมิสูง ให้ดื่มน้ำบ่อยๆ สวมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าเบาบาง ระบายอากาศได้ดี ใช้ครีมกันแดด รวมทั้งงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1116005​
https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/heatrelillness.html#stroke

แนะนำสำหรับคุณ

หน้าฝนแล้ว พร้อมรับมือแล้วรึยัง?
Resilience

หน้าฝนแล้ว พร้อมรับมือแล้วรึยัง?

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?
Resilience

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน