RISC

แต่ละองศาที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบกับเราอย่างไร?

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

2595 viewer

“มนุษย์ต้องพยายามหยุดยั้งไม่ให้โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสหรือ 2 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม” ประโยคนี้น่าจะมีใครหลายคนเคยได้ยิน และสงสัยว่าอุณหภูมิขึ้นเพียงแค่นี้จะส่งผลร้ายแรงอะไรขนาดนั้น​

เราอาจจะรู้สึกว่า เวลาที่ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศขึ้นหรือลงเพียงครึ่งองศาเซลเซียส ก็ไม่เห็นรู้สึกถึงความแตกต่างเลย แต่สำหรับโลกของเราแล้ว อุณหภูมิที่ต่างกันเพียงครึ่งองศา อาจหมายถึงการที่ผู้คนหลายล้านคนจะประสบความยากลำบากมากขึ้น​

งั้นเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นลองมาดูรายงานนี้กัน

ทาง Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) หรือคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ออกรายงานเกี่ยวกับการที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เป็นการชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออุณหูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และ 2 องศาเซลเซียส?​

ถ้าหากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม ภูมิภาคอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือซึ่งมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปี เมื่อถึงฤดูร้อนจะมีโอกาสที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายหมดเพียง 1 ครั้งใน 100 ปี แต่หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส น้ำแข็งในเขตอาร์กติกอาจละลายหมดในฤดูร้อนทุกๆ 10 ปี

ขณะที่สภาสภาพภูมิอากาศออสเตรเลีย (Australia Climate Council) ได้เปรียบเทียบให้เห็นผลกระทบด้านอื่นๆ หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น เช่น หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ปะการังทั่วโลกจะลดลง 70 - 90% แต่หากปล่อยให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส ปะการังทั่วโลกอาจลดลงถึง 99% ซึ่งอย่างที่เรารู้กันว่า แนวปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ จำนวนมาก หากปะการังหายไปจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งอย่างมหาศาล และนั่นก็หมายถึงแหล่งอาหารของเราก็หายไปด้วย​

ประชากรราว 14% ของทั้งโลกจะประสบภัยจากสภาพอากาศร้อนจัดหรือ Extreme Heat ทุกๆ 5 ปี หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส แต่ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 37% ของประชากรทั้งโลก หากอุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส​

จากผลกระทบที่แตกต่างกันอย่างมากนี้ ทำให้นานาชาติให้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป​

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
1. https://www.weforum.org/agenda/2021/07/2c-global-warming-difference-explained/​
2. https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/sites/2/2022/06/SR15_Full_Report_HR.pdf​
3. https://www.climatecouncil.org.au/resources/infographic-the-difference-between-1-5-and-2-degrees-warming/

แนะนำสำหรับคุณ

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke