RISC

พลังงานไฮโดรเจน อีกทางเลือกพลังงานแห่งอนาคต

เขียนบทความโดย RISC | 2 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

3557 viewer

ท่ามกลางกระแสพลังงานสะอาดที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าวันนึงจะมาเป็นพลังงานแห่งอนาคต ที่สามารถมาทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอีกตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่...พลังงานที่ว่าต่างก็มีข้อจำกัด เรามาลองทำความเข้าใจกัน​

พลังงานสะอาดที่เราคุ้นเคยกัน เช่น "พลังงานแสงอาทิตย์" นั้นก็มีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการผลิต ที่ทำได้เฉพาะพื้นที่ที่มีความเข้มแสงอาทิตย์เพียงพอ และผลิตได้เฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ส่วน "พลังงานลม" นั้นก็มีข้อจำกัด เช่น ต้นทุนสูง ต้องใช้พื้นที่เยอะ พื้นที่มีความเร็วลมพอเหมาะกับชนิดของกังหันลม สภาวะอากาศต้องอำนวย ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ และบางครั้งอาจก่อให้เกิดเสียงรบกวนจากใบพัด ดังนั้น การจะใช้พลังงานสะอาดจึงต้องพึ่งพิงแหล่งผลิตไฟฟ้าให้มีความหลากหลายรูปแบบประกอบ เพื่อเสริมกัน​

“พลังงานไฮโดรเจน” ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นอีกหนึ่งพลังงานทดแทนที่ถูกจับตามอง เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อที่แตกต่างจากพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น โดยพลังงานไฮโดรเจนเกิดจากการนำก๊าซไฮโดรเจนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง มีความสามารถใช้งานได้เทียบเท่าพลังงานจากน้ำมัน อย่างไรก็ดี สาเหตุที่พลังงานไฮโดรเจนยังไม่แพร่หลายนั้นเป็นเพราะการผลิตไฮโดรเจนยังมีต้นทุนที่สูงอยู่ และมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจการกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไฮโดรเจนยังมีอยู่น้อยมาก จึงไม่สะดวกแก่การใช้งานสำหรับบุคคลทั่วไป​

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่เป็นตัวชี้ขาดว่าพลังงานไฮโดรเจนนั้นสะอาดจริงขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งในปัจจุบันก๊าซไฮโดรเจนที่ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นไฮโดรเจนสีเทา (Grey Hydrogen) เนื่องจากถูกผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต จึงยังไม่ใช่พลังงานสะอาดที่แท้จริง ในขณะที่ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน (Blue Hydrogen) ผลิตโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเช่นกัน แต่มีกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ไฮโดรเจนสีฟ้านั้นสะอาดกว่าไฮโดรเจนสีเทา ส่วนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนโดยไม่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือเรียกว่าไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) นั้นผลิตโดยกระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis) โดยใช้พลังงานไฟฟ้ามาแยกโมเลกุลของน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน ดังนั้น ในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว จึงต้องอาศัยไฟฟ้าที่มาจากแหล่งพลังงานสะอาดคาร์บอนต่ำ เช่น พลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์​

พลังงานไฮโดรเจนสีเขียวยังมีข้อโดดเด่นด้านความหนาแน่นพลังงานสูงสุดเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ แต่ยังมีอุปสรรคด้านต้นทุนการผลิต การขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการกระจายไฮโดรเจน อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาผ่านไปเชื่อได้ว่าต้นทุนการผลิตจะปรับตัวลดลง เนื่องจากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ถึงตอนนั้นก็คงสมกับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาดแห่งอนาคต​

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส RISC​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210907.html​
https://www.greennetworkthailand.com/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-green-hydrogen/​

แนะนำสำหรับคุณ

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?
Resilience

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?