RISC

7 Design Aspects for Healthy Built-Environment: การเลือกวัสดุและสร้างความปลอดภัย

เขียนบทความโดย RISC | 4 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

1517 viewer

 

มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความสบายใจ (Peace of mind) การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไร้กังวล ไม่เจ็บป่วย และรำคาญใจ...การเลือกวัสดุที่ดีต่อสุขภาพและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับทุกคนจึงเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญ ​

วัสดุต่างๆ สามารถเป็นแหล่งปล่อยสารพิษออกมาได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะวัสดุภายในอาคาร หากเราสัมผัสทุกวัน ในระยะสั้นจะทำให้รู้สึกแสบตา ระคายเคืองทางจมูก ผิวหนัง และการหายใจ และในระยะยาวจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง หรือโรคระบบทางเดินหายใจ ​

นอกจากเรื่องสารพิษในวัสดุแล้ว การออกแบบและเลือกวัสดุที่ช่วยสร้างความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่นการล้ม หรือการพลัดตก ก็สำคัญเช่นกัน โดยสถิติจากทั่วโลกพบว่า “การล้ม” เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งกลุ่มอายุเฉลี่ย ก็คือ ผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป และยังรวมถึงเด็กเล็กอีกด้วย ​

จากปัญหาที่กล่าวมา การออกแบบเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย สามารถทำได้โดย... ​

1. การเลือกวัสดุที่ไม่มีสารพิษเจือปน หรือมีสารพิษน้อย (Non-toxic or Low-emission material) ​
กลุ่มสารเคมีที่พบเจอได้บ่อยในวัสดุอาคาร ก็คือ กลุ่มสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds: VOCs) ซึ่งสาร VOCs เป็นส่วนประกอบ และสารทำละลายในวัสดุต่างๆ ที่เราใช้ในอาคาร อย่างสี กาว ยาแนว สารเคลือบ ไม้ประกอบ วัสดุตกแต่ง พรม เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ดังนั้นจึงต้องระวังวัสดุที่มีส่วนผสม VOCs ในปริมาณสูง โดยสามารถตรวจสอบได้จากใบรับรอง (Certificate) ปริมาณ VOCs content และ VOC emission ในปัจจุบันมีสถาบันและองค์กรที่มีความเป็นกลาง จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง ซึ่งเรามั่นใจได้เลยว่าวัสดุที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานมีความปลอดภัย เช่น ฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือแม้แต่ฉลาก Greenguard โดย UL’s GREENGUARD Certification program ​

2. การออกแบบรองรับความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ (Safety Material) ​
การป้องกัน และลดอุบัติเหตุต่างๆ สามารถเลือกวัสดุผิวพื้นที่มีคุณสมบัติการกันลื่นที่เหมาะสำหรับแต่ละพื้นที่ใช้งานต่างๆ ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการลื่นแตกต่างกัน การเลือกพื้นกระเบื้อง สามารถพิจารณาค่ากันลื่น (Slip resistance, R) ของพื้น ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานจาก Germany's DIN 51130 Slip Test ยิ่งค่า R สูงก็ยิ่งกันลื่นได้สูง เช่น พื้นที่ใช้งานทั่วไป พื้นที่ไม่เปียกน้ำ ควรเลือกใช้พื้นที่มีค่า R9 เป็นอย่างน้อย แต่หากเป็นพื้นห้องน้ำ ที่อาจเปียกน้ำบ่อยครั้ง ควรเลือกใช้พื้นที่มีค่า R11 เป็นอย่างน้อย ​

จะเห็นได้ว่าการเลือกวัสดุและการออกแบบเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย ถือเป็นรายละเอียดที่ต้องใส่ใจ เพื่อการสร้างความสบายกาย และสบายใจให้กับผู้อยู่อาศัย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆ วันครับ ​

โพสต์ต่อไป เราจะเจาะลึกเรื่อง Living with Nature ว่าส่งผลต่อกายและใจของเราได้อย่างไร โปรดติดตามนะครับ ​

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- US National Library of Medicine National Institutes of Health ​
- WHO, National Center for Health Statistics

แนะนำสำหรับคุณ

“พลาสติกเทอร์โมเซต” (Thermosetting plastics) เปลี่ยนจากปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่​
Materials & Resources

“พลาสติกเทอร์โมเซต” (Thermosetting plastics) เปลี่ยนจากปัญหาสิ่งแวดล้อมสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่​

ถักทอ สืบสาน สร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัยเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
Materials & Resources

ถักทอ สืบสาน สร้างสรรค์ ศิลปะร่วมสมัยเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

รู้หรือไม่? ​เปลือกทุเรียนทำวัสดุก่อสร้างและพลาสติกได้​
Materials & Resources

รู้หรือไม่? ​เปลือกทุเรียนทำวัสดุก่อสร้างและพลาสติกได้​

Waste to "VALUE" เปลี่ยนขยะให้มีค่า
Materials & Resources

Waste to "VALUE" เปลี่ยนขยะให้มีค่า

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Materials & Resources

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ
Materials & Resources

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?