RISC

Waste to "VALUE" เปลี่ยนขยะให้มีค่า

เขียนบทความโดย RISC | 10 ชั่วโมงที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 10 ชั่วโมงที่แล้ว

27 viewer

ข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมสูงถึง 19.8 ล้านตัน โดยเป็นของเสียที่ไม่อันตราย 18.7 ล้านตัน และเป็นของเสียอันตราย 1.1 ล้านตัน​

ซึ่งของเสียอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกิดจากการผลิตน้ำตาลทราย (38.8%) พลังงานไฟฟ้าจากความร้อน (14.3%) อาหารและเครื่องดื่มจากผักผลไม้ (11.9%) เหล็ก (6.4%) เอทานอล (5.7%) และอื่นๆ อย่างเช่น กระดาษ ชิ้นส่วนยานยนต์ สารเคมี พลาสติก และสิ่งทอ​

จากข้อมูลข้างต้นพบว่า กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม มักมีของเสียเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิตจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี หากปริมาณของเสียเหล่านี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น การปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและดิน รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรค​

การจัดการของเสียอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องใช้เแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาช่วย โดยการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะ และยังเพิ่มมูลค่าให้กับขยะเหล่านี้อย่างยั่งยืน​

โดยต้องเริ่มจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด และลดการเกิดของเสียระหว่างกระบวนการผลิต นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงการจัดการผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน เช่น การใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ สามารถรีไซเคิลได้ หรือสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ในอนาคต ในขณะเดียวกันผลพลอยได้ (By-Products) ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตไม่ควรมองเป็นขยะที่ต้องกำจัด แต่ควรมองเป็นทรัพยากรที่มีค่า ซึ่งเป็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าจากของเสีย เช่น การใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าอย่างสูงสุด​

ตัวอย่างเช่น การผลิตกระเบื้องพรม (Carpet Tiles) จากเส้นใย Nylon ของบริษัท Tarkett ​

แผ่นพรมของ Tarkett ถูกออกแบบตั้งแต่แรกให้สามารถแยกชั้นขนพรมออกจากชั้นรองหลังได้ พอเมื่อหมดอายุการใช้งาน

  1. ชั้นขนพรม ซึ่งเป็นเส้นใย Nylon จะถูกนำไปรีไซเคิลเชิงเคมีร่วมกับเศษเส้นใยจากการผลิตพรม และขยะจาก Nylon อื่นๆ เช่น ตาข่าย แหอวน เสื้อผ้า และชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อนำมาผลิตเป็นเส้นใย Nylon สำหรับการผลิตพรมใหม่
  2. ชั้นรองหลัง ที่ถูกแยกออกมาจะถูกบดย่อย และหลอมขึ้นรูปเป็นแผ่นใหม่ จะนำไปใช้เป็นชั้นรองหลังสำหรับการผลิตพรมใหม่อีกครั้ง

การออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุในลักษณะนี้ จะช่วยลดปริมาณขยะ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะได้อีกด้วย

การเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่เพียงแค่ช่วยลดปริมาณขยะ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ โดยเน้นการออกแบบที่คำนึงถึงการรีไซเคิล และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เพียงแต่ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ แต่ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนอีกด้วย ​

หากองค์กร หรืออุตสาหกรรมของท่านต้องการเปลี่ยนขยะของเสีย (Waste) จากโรงงานให้กลับมามีมูลค่า (Value) สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน สามารถติดต่อ RISC Line ID: risc_center. 063-902-9346 หรือ risc_admin@dtgo.com​

เนื้อหาโดย คุณ สุพรรณภางค์ รักษาวงค์ นักวิจัยวัสดุ Sustainable Building Material ​

อ้างอิงข้อมูลจาก​
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย พ.ศ. 2567 : https://www.nso.go.th/public/e-book/Indicators-Environment/Environment-Indicators-2567/​
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. สรุปข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม 2566 : https://api.diw.go.th/public/tableauPublic.jsp?name=A4&ms=1744165687192​
Tarkett. Climate and Circular Economy​

แนะนำสำหรับคุณ

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Materials & Resources

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ
Materials & Resources

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
Materials & Resources

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?
Materials & Resources

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้
Materials & Resources

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้