RISC

"Carbontech" เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าให้คาร์บอนเพื่อช่วยโลกของเรา

เขียนบทความโดย RISC | 3 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

8950 viewer

ปัจจุบันมีหลายองค์กรและธุรกิจที่ได้ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด แต่มันไม่ง่ายแบบนั้น เพราะยังมีอีกหลายกิจกรรมของมนุษย์ที่ยังไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ได้ และในเมื่อการทำให้ลดมันยาก การกำจัดคาร์บอนจากอากาศ (Carbon removal) จึงเป็นเหมือนทางออก เพื่อช่วยชดเชยกับการปล่อยคาร์บอนที่ยังหลงเหลืออยู่

สำหรับการกำจัดคาร์บอนจากอากาศสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ก็คือ...

กลุ่มแรกเป็น การกักเก็บคาร์บอน (Carbon sequestration) คือการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ จากสถานะก๊าซให้กลายเป็นของแข็งหรือของเหลว และนำมากักเก็บไว้ในแหล่งกักเก็บตามธรรมชาติที่มีความสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ยาวนาน เช่น มหาสมุทร ดิน และชั้นหิน

กลุ่มสองเป็น การดักจับคาร์บอน (Carbon capture) คือการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ อย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล โดยเมื่อดักจับมาแล้ว จะนำไปกักเก็บที่แหล่งกักเก็บต่ออีกที บางครั้งจึงอาจได้ยินคำว่า การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage, CCS) แต่ถ้าเป็นการดักจับจากอากาศโดยตรงอาจเรียกว่า Direct Air Capture (DAC) ซึ่งมีการติดตั้งใช้งานจริงอยู่ที่ประเทศไอซ์แลนด์

กลุ่มสุดท้าย เป็นกลุ่มที่เราอยากให้จับตามากที่สุด นั่นก็คือ คาร์บอนเทค (Carbontech) เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มุ่งหวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกับคาร์บอนที่ดักจับมา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการดำเนินงาน พูดง่ายๆ ก็คือนำคาร์บอนที่ดักจับมาไปต่อยอดกับผลิตภัณฑ์อื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น นำไปผสมในคอนกรีต หรือนำไปผลิตวัสดุที่มีคาร์บอนเป็นส่วนผสม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคาร์บอนได้แล้ว ยังสร้างมูลค่าได้อีกด้วย​

เราจะเห็นได้ว่า การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกทำได้หลากหลายวิธี ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กรและระดับประเทศ หากทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจกัน อยากรักษาโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้น เราก็สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ได้ไม่ยากเกินความเป็นจริง

เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส RISC​

อ้างอิงข้อมูลจาก ​
How Do You Define Carbontech? The Big Climate Tech Hype for 2021  https://cleanenergyventures.com/clean-energy-venture-capital/how-do-you-define-carbontech-the-big-climate-tech-hype-for-2021/ ​
การกักเก็บคาร์บอนในดิน http://e-library.ldd.go.th/library/flip/bib9747f/files/basic-html/page26.html ​
The Global CO2 Initiative https://www.env.go.jp/earth/cop/cop22/common/pdf/event/16/02_presentation3.pdf

แนะนำสำหรับคุณ

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Materials & Resources

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ
Materials & Resources

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
Materials & Resources

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?
Materials & Resources

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้
Materials & Resources

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024
Materials & Resources

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024