RISC

ภาวะโลกเดือดจะส่งผลอะไรในอนาคตบ้าง?

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

10245 viewer

คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า “โลกร้อน” หรือ “โลกรวน” หรือถ้าอธิบายแบบให้เข้าใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดอากาศสุดขั้ว ภัยธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น​

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากปรากฏการณ์นี้ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่ผ่านมา เช่น การเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่บนเกาะโรดส์ ประเทศกรีซ หรือบนเกาะเมาวี ในรัฐฮาวายของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์ทำให้ต้องอพยพประชาชนจำนวนมาก และยังมีผู้เสียชีวิตอีกด้วย​

แต่ทุกสิ่งเหมือนจะดูเลวร้ายลงไปอีก เมื่อเลขาธิการสหประชาชาติได้ออกแถลงเตือนว่า ยุคโลกร้อนสิ้นสุดลง แต่ "ยุคโลกเดือด" ได้มาถึงแล้ว เนื่องจากรายงานของหน่วยวิจัยของสหภาพยุโรป (Copernicus Earth Observation Programme) ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิอากาศพื้นผิวเฉลี่ยรายวันทั่วโลกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นวันที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

ผลที่อาจจะตามมา คือ สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อนถล่ม น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟไหม้ป่าที่เกิดง่าย และลุกลามเป็นวงกว้าง พายุที่มีความรุนแรงมากขึ้น น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงจนส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต น้ำทะเลเป็นกรดจนเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลหลายชนิด สำหรับผลกระทบที่ใกล้ตัวคนเมือง อย่างเช่น การที่ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลต่อการเพาะปลูก การประมงและปศุสัตว์ ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และมีราคาสูงขึ้นด้วย

การแก้ปัญหาเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อีกต่อไป ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจ และร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี ค.ศ. 2050 เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และยังเป็นการช่วยกันรักษาสมดุลของระบบนิเวศของโลกเราให้อยู่อย่างยาวนานอีกด้วย นอกจากนี้การช่วยกันคนละไม้ละมือในการร่วมกันแก้ไขปัญหา น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด​

MQDC ตั้งเป้า Nature Positive & Carbon Negative 2050 คลิกอ่านต่อที่ https://bit.ly/3s35Fwe
    
​เนื้อหาโดย คุณ วรพร ปุณยกนก วิศวกรวิจัยอาวุโส Acting Head of Resilience Hub, RISC

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://www.theguardian.com/science/2023/jul/27/scientists-july-world-hottest-month-record-climate-temperatures​
https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/article/chaengsibia/article-2023sep05.html

แนะนำสำหรับคุณ

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke