RISC

Iconic

เขียนบทความโดย RISC | 4 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

6654 viewer

ไอคอน (Icon) เป็นคำที่นิยมเรียกทับศัพท์ โดยรากศัพท์ของ Icon มาจากภาษากรีก แปลว่า รูปภาพ (image) ความชอบ (likeness) และการอุปไมย (Similitude) Icon สามารถใช้แทนในความหมายต่างๆได้เช่นในทางศาสนา Icon หมายถึงรูปบูชา ทางด้านคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งแทนเครื่องหมายต่างๆเช่นเครื่องหมายเอกสาร (document) นอกจากนี้ Icon ยังใช้แทนเป็นเชิงสัญลักษณ์ของบุคคลผู้ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของคนจำนวนมาก อาทิเช่น มหาตมะ คานธี เป็นผู้ต่อสู้ด้วยระบบอหิงสาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์เป็นต้น 

ไอคอนกับงานสถาปัตยกรรม หรือจะเรียกว่า สถาปัตยกรรมสัญลักษณ์ (Iconic Architecture) เป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์ในมุมมองที่โดดเด่นจากสถานที่โดยงานสถาปัตยกรรม โดยงาน Iconic Architecture นี้ไม่เพียงแต่มีความพิเศษทางด้านรูปลักษณ์จากงานสถาปัตยกรรมทั่วไป แต่ยังเป็นการสร้างปรากฏการณ์ของการมีอยู่ของสถานที่และวิถีชีวิตของผู้คนในบริบทนั้นๆ โดย ชาร์ลส์ เจ็งส์ (Charles Jencks) ได้กล่าวว่า Iconic Architecture นั้นได้ให้มิติของรูปลักษณ์และยังแทรกด้วยปรัชญาในเชิงสัญลักษณ์ไว้ด้วย เหมือนกับงานภาพเขียน Byzantine painting of Jesus  หากเราพิจารณาลงในบริบทของเมือง Iconic Architecture มักจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นออกมาจากเมืองด้วยลักษณะรูปทรงที่พิเศษ หรือความสูงที่ต่างจากบริบทโดยรอบ ตัวอย่างเช่น Gherkin tower ซึ่งใช้เทคโนโลยีสุดโต่ง กับรูปทรงอาคารที่มีเอกลักษณ์ที่แปลกแยกออกจากบริบทของเมืองอย่างชัดเจน 

Jencks ยังกล่าวอีกว่า Iconic Architecture ที่มีความโดดเด่นจะสร้างมูลค่าอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้เลย เนื่องจากรูปลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ที่มีความแตกต่างจากบริบทโดยรอบ จะสร้างประสบการณ์ใหม่และความประทับใจต่อผู้คนที่ได้พบเห็น เปรียบเสมือน landmark ของพื้นที่นั้นๆ อาทิเช่น The Sydney Opera House ประเทศออสเตรเลีย ที่มีรูปทรงสวยงามโดดเด่น หรือ The Eiffel Tower ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างโดยเทคโนโลยีสูงสุดของโครงสร้างเหล็กในเวลานั้น  ซึ่งทั้งสองงานสถาปัตยกรรมนี้ถือได้ว่าเป็น Iconic Architecture ที่เปรียบเสมือน Landmark ที่นักท่องเที่ยวต้องไปเยี่ยมชมเพราะถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนั้นๆ

สถาปัตยกรรมสัญลักษณ์ (Iconic Architecture) เป็นการออกแบบผสมผสานระหว่างพื้นที่และรูปแบบสถาปัตยกรรมในเชิงบวก  นอกจากการสร้างมุมมองที่โดดเด่นของสถานที่แล้วงานสถาปัตยกรรมสัญลักษณ์สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเข้ามาในวิถีชีวิตของมนุษย์ได้ Iconic Architecture จึงไม่เพียงแต่อยู่เหนือสถาปัตยกรรมพื้นฐาน แต่ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่และความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างสถาปัตยกรรมสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ภาพลักษณ์อันโดดเด่น ที่สามารถเปลี่ยนเมืองเล็กๆที่ไม่มีใครรู้จักกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกขึ้นมานั่นก็คือ Guggenheim Museum ซึ่งออกแบบโดย Frank Gehry โดยรัฐบาลสเปนตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ชื่อ Bibao เป็นเมืองท่องเที่ยวโดยใช้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่เป็นตัวดึงดูด และสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมหาศาล (Klaus Reichold, 1999)

ลักษณะเฉพาะของการสร้างรูปแบบสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม

จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วของรูปแบบของ Iconic Architecture ไม่ว่าในเรื่อง ของความมีเอกลักษณ์เฉพาะ ภาพลักษณ์ความโดดเด่น ขนาด ความสูงของงานสถาปัตยกรรม ในบริบทต่างๆนั้นสามารถแบ่งลักษณะเฉพาะของ Iconic Architecture ได้ดังนี้

รูปภาพ (Image) ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมจากสภาพแวดล้อม โดยผลของการมีอยู่ของ Iconic Architecture ต้องสร้างผลกระทบด้านบวกต่อการรับรู้ของผู้คนในสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างอาคาร Guggenheim Museum ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลงภาพของบริบทนั้นอย่างสุดโต่งของสถานที่นั้น หรือตัวอย่างอาคาร Dancing house กรุงปราก ที่ออกแบบโดย Frank Gehry โดยออกแบบอาคารโดยเน้นการใช้กรอบอาคารกระจกด้านนอกที่เป็นวัสดุสมัยใหม่ ออกแบบรูปทรงแทนแนวคิดของการเต้นรำ โดยเป็น Iconic Architecture ที่ออกแบบเข้าไปแทรกในกลุ่มอาคารประวัติศาสตร์ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่และบริบทนี้โดยงาน  Iconic Architecture อย่างเห็นได้ชัดเจน 

ความทันสมัย (Modernity) เป็นความสัมพันธ์เรื่องของงานสถาปัตยกรรมกับเวลา ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนบอกเรื่องราวในการพัฒนาสำหรับแนวคิดในอนาคตได้ การแสดงออกด้วยความใหม่สุดของเทคโนโลยี วัสดุ โครงสร้างหรือรูปแบบงานสถาปัตยกรรม ซึ่งสามารถบอกถึงวิวัฒนาการของโลกและสามารถแสดงออกมาให้เกิดการรับรู้แบบใหม่ให้กับผู้คนได้ เช่น The Eiffel Tower ซึ่งเป็นการแสดงนวัตกรรมด้านโครงสร้างในเวลานั้น หรือ the Reichstag Building ในกรุงเบอร์ลิน ที่ออกแบบโดย Sir Norman Foster โดยการสร้างโดมกระจกขนาดใหญ่บนส่วนสูงสุดของอาคารประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถมองวิวของเมืองได้ 360

วัฒนธรรม (Culture) Iconic Architecture ซึ่งเป็นตัวแทนของเมืองนั้นๆ ต้องสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับงานสถาปัตยกรรมได้ Iconic Architecture ที่สามารถเป็นตัวแทนของวัฒนธรรม สังคมและประวัติศาสตร์ของเมือง ที่สร้างคุณค่าให้กับเมืองตัวอย่างอาคาร The Azadi Square ในอิหร่าน นั้นแสดงให้เห็นถึงแก่นของของวัฒนธรรมตั้งแต่อดีต จิตวิญญาณ การปลดปล่อย โดยอาคารนี้สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้าตั้งแต่อดีตต่อไปถึงความหวังของอนาคต

Iconic Architecture ถือเป็นจุดปลายทางหนึ่งในการเดินทางของผู้คนเพื่อได้ประสบการณ์ใหม่ ในการเรียนรู้ความแปลกและแตกต่าง เทคโนโลยี หรือแนวคิดที่มุ่งสู่อนาคต แต่ยังมีการสอดแทรกเรื่องราวของเมือง ผู้คน ชุมชน ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของบริบทเมืองนั้นๆแฝงอยู่ในการเล่าเรื่องของแนวคิดของ Iconic Architecture นั้นๆ เมื่อย้อนกลับมาที่กรุงเทพฯ Iconic Architecture ที่สามารถมองเห็นได้ส่วนมากจะเป็นเชิงวัฒนธรรม เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่สถาปัตยกรรมเชิงสัญลักษณ์ ที่สามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของเมือง เทคโนโลยีสมัยใหม่ ยังไม่มีสถาปัตยกรรมใดที่เห็นได้ชัด แต่คงอีกไม่นานอาจจะมีนวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นในกรุงเทพฯที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น Iconic Architecture หรือ Landmark ของกรุงเทพฯได้

 

เอกสารอ้างอิง:

http://prachatai.com/journal/2010/07/30358

ชุติมา ขจรณรงค์วณิช (2553). แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสัญลักษณ์สำหรับกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์

สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง,

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 

Story by ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ (ฝ่ายวิจัยและพัฒนา กลุ่มบริษัทดีที)

แนะนำสำหรับคุณ

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?
Resilience

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?