RISC

Modern Utopia

เขียนบทความโดย RISC | 4 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

4316 viewer

 

Utopia (ยูโทเปีย) เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นโดยนักปรัชญามนุษยนิยมชาวอังกฤษ Sir Thomas More ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นภาษากรีก eu-topia ซึ่งหมายถึง Good Place (สถานที่ที่ดี) และเสียงของคำพ้องกับคำ ou-topia ซึ่งหมายความว่า No place (ไม่มีที่ใด) โดยแสดงเป็นเกาะแห่งจินตนาการที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อเพื่อวิพากษ์วิจารณ์สังคมอังกฤษร่วมสมัย เพื่อเสนอรูปแบบทางเลือกสู่สังคมสมบูรณ์แบบ อาทิชุมชนเมืองจะไม่มีชุมชนแออัด ทุกคนจะมีบ้านที่มีสวนและสามารถปลูกผักสำหรับแต่ละครอบครัวได้ แนวความคิดยูโทเปีย มีผลกับความคิดในเชิงมโนทัศน์และได้แพร่หลายไปในหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งทำให้เกิดการขยายแนวความคิดเชิงอุดมคติในเวลาต่อมา

รูปแบบยูโทเปียที่แตกต่างกัน ในช่วงยุคกลาง ยูโทเปียถูกสื่อเป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ซึ่งความปรารถนาทางโลกทั้งหมดจะได้รับการเติมเต็มหรือทำให้บรรลุผลได้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 "ความรอด" ถือเป็นอุดมคติแห่งความสมบูรณ์โดยผ่านความก้าวหน้าของยุคสมัยใหม่ (modern progress) โดยมีผู้เสนอแนวคิดที่มีชื่อว่า Arcagrup (the art-architects collective) เป็นการนำเสนอเรือลำหนึ่ง ที่ทำขึ้นจากวัสดุหมุนเวียนมาใช้ใหม่ และพลังงานต่างๆจากธรรมชาติมาใช้ โดยเรือลำนี้คล้ายกับเรือของ โนอาห์ (Noah's arc) ที่บรรทุกความฝัน ความหวังจากการสูญสิ้นสู่ความรอด

หลังการปฏิวัติทางการเมืองและอุตสาหกรรมในทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 Ebenezer Howard ชาวอังกฤษผู้ซึ่งเห็นความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเห็นปัญหาจากมลพิษและความแออัดในเมือง ทำให้ Howard ได้เสนอแนวคิดแบบอุดมคติ (Utopia) ขึ้นที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์แต่เป็นการยากที่จะนำมาปฏิบัติจริงที่เรียกว่า Garden Cities of Tomorrow เป็นแนวความคิดในการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของชุมชนเมืองและเกษตรกรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเมืองน่าอยู่ ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตที่ดี

Ebenezer Howard เสนอแนวคิดการสร้างเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีแบบชนบทในรูปแบบแผนภูมิแม่เหล็ก 3 ขั้ว ที่อธิบายทฤษฎีทัศนียภาพเมือง โดยประกอบด้วยแม่เหล็กสองขั้วของ เมืองและชนบท และขั้วที่สามคือข้อดีของเมืองเมื่อรวมกับชนบท ซึ่งสามารถอธิบายแนวความคิดในการแบ่งเขตเมืองและเขตชนบท โดยมีพื้นที่สีเขียวและเกษตรกรรมกั้นระหว่างกัน โดยมุ่งเน้นสภาพแวดล้อมของเมืองที่ไม่แออัดและไม่มีชุมชนแออัด ไร้มลพิษในอากาศ ซึ่งในสมัยต่อมาแนวความคิดนี้ได้แพร่หลายในการวางผังเมืองไปประเทศอื่นๆทั่วโลก 

Modern Utopia ของ J.C. Hallman ในหนังสือ In utopia ได้พูดถึงโครงการ New Songdo City ซึ่งมีความน่าสนใจในเชิงแนวคิดอุดมคติที่มีมาแต่อดีต โดยโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2015 พื้นที่การก่อสร้าง 1,500 ไร่ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยประชากร 1 ใน 3 ของโลก เช่น จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย สามารถเดินทางมาถึงสนามบินอินชอนภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง 

New Songdo City ออกแบบภายใต้แนวคิดเมืองแห่งการเชื่อมต่อ Connected Community โดย CISCO และบริษัท United Technologies ใช้พื้นที่กว่า 6 ตารางกิโลเมตร ในการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับตั้งแต่กลุ่มธุรกิจบริการขนาดเล็ก จนถึงบริษัทวิจัยเทคโนโลยีขนาดใหญ่ระดับโลก ให้กลายเป็นชุมชนต้นแบบที่มีข้อมูลทุกอย่างอาทิเช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การจราจร ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายเดียวกันทั้งหมด และเน้นย้ำการออกแบบภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการวางผังเมืองที่เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่โดยการขนส่งที่ทันสมัย ประกอบกับการออกแบบอาคารที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในอาคาร บนพื้นฐานโครงสร้างของเมืองที่มีการแบ่งพื้นที่ของโซนการใช้งานอย่างดี การวางโซนธุรกิจ แยกออกจากที่อยู่อาศัย และสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ อาทิโรงเรียน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า พื้นที่โล่งขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตัวอย่างแนวคิดในโครงการ New Songdo เช่น

การมีพื้นที่เปิด 40% ของเมืองเพื่อลดความแออัด

การออกแบบระบบขนส่งที่เข้าถึงทุกพื้นที่ เช่น รถใต้ดิน รถเมล์

การวางเส้นทางจักรยานเชื่อมต่อกัน 25 กิโลเมตร

จุดบริการหัวจ่ายพลังงานสำหรับรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานในเมือง

การนำของเหลือมารีไซเคิลในงานก่อสร้าง

ระบบบำบัดน้ำเสียและสิ่งปฎิกูล

ใช้น้ำทะเลในคลองเซ็นทรัลพาร์ค

อาคารที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน หลังคาสีเขียว เพื่อลดการใช้พลังงานและแหล่งความร้อน

การพัฒนาแนวคิด “ยูโทเปีย”นั้นยังคงมีการพัฒนาตามกาลเวลา เพื่อเผยแพร่แนวคิดเชิงอุดมคติของการอยู่อาศัยที่ดี ที่สามารถมีอยู่จริงได้บนโลกใบนี้หรือที่ไหนซักแห่ง ที่สามารถสะท้อนแนวความคิดในอุดมคติ ที่เกิดจากการเรียนรู้จากความล้มเหลวเพื่อสร้างแนวคิดแห่งศรัทธา ต่อไปตราบเท่าที่ผู้คนยังคงใช้ความคิดและมีความหวังสู่การอยู่ในโลกที่สวยงามใบนี้ต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.mbanewsthailand.com/2011/07/songdo/

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=28592

http://www.reocities.com/midarticle/newpage65.html

http://sixties-l.blogspot.com/2010/08/modern-day-adventures-in-utopian-living.html

http://www.salon.com/2010/08/15/in_utopia_interview/ 

 

Story by ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ และ ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ (ฝ่ายวิจัยและพัฒนา กลุ่มบริษัทดีที)

แนะนำสำหรับคุณ

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?
Resilience

ทำไมปีนี้ไม่ร้อนเท่าปีก่อน?

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี
Resilience

การประเมินพื้นที่ด้วย GIS ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน