RISC

ธรรมชาติผู้ให้กำเนิด กำลังอยูู่ในภาวะวิกฤติ

เขียนบทความโดย RISC | 4 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

2295 viewer

 

จากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันพบว่ามีความถี่มากกว่าในอดีต และเริ่มเข้ามาใกล้ตัวของเรามากขึ้น เหตุผลหนึ่งเกิดจากการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้สามารถตรวจพบภัยพิบัติได้ละเอียดและแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ด้วยเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้การสื่อสารและการรับรู้ข่าวสารรวดเร็วไปด้วย จากข้อมูลสถิติภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลกที่สำคัญในปี พ.ศ.25531 พบว่า ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นทุกเดือน และเกิดขึ้นเดือนละหลายครั้ง ซึ่งเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล ในปีนี้เองที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาอุทกภัยเช่นกัน เนื่องจากฝนที่ตกฉับพลันจนไม่สามารถระบายน้ำออกมาได้ทัน อีกทั้งผลกระทบของฝนที่ตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายให้กับผู้คนและบ้านเรือนอย่างมาก

ในปี 2553 พบว่าปริมาณน้ำฝนไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติเพียงร้อยละ 5 แต่ถ้าหากเราสังเกตปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนเฉพาะปี พ.ศ.2553 เทียบกับค่าปกติจะพบว่า ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม เกิดสภาพแล้งจัดในประเทศไทย จนทำให้หลายจังหวัดเริ่มกักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ใช้ แต่พอในเดือนตุลาคม และธันวาคม กลับเกิดฝนตกหนักฉับพลัน จนทำให้เราไม่สามารถรับมือได้ทัน เมื่อน้ำมีปริมาณมากเกินกว่าที่เขื่อนจะสามารถกักเก็บไว้ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องระบายออกและทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายภาค2 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลที่เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนนั่นเอง หากทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เปรียบเสมือนการปรับตัวของโลก เพื่อที่จะทำให้กลับสู่สภาพสมดุล เช่น แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนที่และชนกันของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งปกติเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา, ภูเขาไฟระเบิด เมื่อใต้โลกร้อนจัดก็จะมีการระบายออกมา นับเป็นการปลดปล่อยพลังงานออกมา และพายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจากการพาความร้อน เมื่ออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้นจนเกิดเป็นกลุ่มก้อนเมฆ จากตัวอย่างนี้ เป็นสภาพที่โลกปลดปล่อยพลังงานออกมาเพื่อปรับสมดุลในด้านอุณหภูมินั่นเอง ขณะที่โลกของเราได้พยายามปรับสมดุล แต่มนุษย์เรากลับพยายามที่จะทำให้โลกเสียสมดุล หากนับตั้งแต่เริ่มต้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์เริ่มมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์ มีการตัดไม้ทำลายป่า สร้างเป็นป่าคอนกรีต จากเดิมที่ธรรมชาติมีการเกื้อกูลปรับเปลี่ยนอย่างสอดคล้อง ต้นไม้ช่วยลดอุณหภูมิของโลกได้ด้วยการคายน้ำ ดินทำหน้าที่ดูดซับความร้อน แต่การสร้างป่าคอนกรีต ทำให้ความสอดคล้องของธรรมชาติสะดุด ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และมนุษย์ในที่สุด อีกทั้งมนุษย์ยังสร้างมลภาวะที่ก่อให้เกิดก๊าซ CO2, สาร CFC ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย เกิดสภาวะเรือนกระจก เป็นตัวเร่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ส่งผลให้พื้นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น จนทำให้แผ่นดินของโลกมีน้ำหนักน้อยกว่าส่วนที่เป็นน้ำของโลก (โลกประกอบด้วยแผ่นดิน 1 ส่วน, น้ำ 3 ส่วน)

 จนเกิดความเสียสมดุล เมื่อโลกต้องการปรับสภาพสมดุลโดยการทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัว การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก 

จะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเรา เนื่องจากมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ บนโลก หากจะว่าไป โลก เปรียบเสมือนพระแม่ธรรมชาติ ที่ให้กำเนิด คอยดูแลและโอบอุ้มความต้องการของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นไว้ เป็นเจ้าของทรัพยากรทุกอย่างที่เราใช้ ผืนดินทุกผืนที่เราเหยียบ น้ำทุกหยดที่เราดื่ม และทุกอณูของอากาศที่เราหายใจ อายุขัยของเราเมื่อเทียบกับโลกนั้นแตกต่างกันมาก เราเพียงหยิบยืมสิ่งของมาใช้ แต่กลับไม่คืนและทำลายมัน หากโลกมีการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะปรับสมดุล เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงจนเราไม่สามารถทนมีชีวิตอยู่ได้ ท้ายทีสุดโลกจะไม่เป็นไร จะยังคงอยู่ต่อไปในวัฏจักรของระบบสุริยะจักรวาล ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ นั้นเป็นคำที่ตั้งเพื่อเรียกสิ่งที่เป็นภัยต่อมวลมนุษย์เอง ไม่ใช่สิ่งที่เป็นภัยต่อโลก และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อเตือนสติมนุษย์ให้มีการยั้งคิดเพื่อหยุดการทำลายธรรมชาติและโลกของเราไปมากกว่านี้

 

ณพล  เกียรติก้องมณี

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา กลุ่มบริษัทดีที

 

แนะนำสำหรับคุณ

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ
Resilience

การเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน เตรียมตัวอย่างไรให้รอด พร้อมตั้งรับภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?
Resilience

แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดครั้งแรก แต่ทำไมรอบนี้เสียหายเยอะ?

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
Resilience

Resilience “Shock & Stress” Framework เครื่องมือที่จะทำให้เราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว
Resilience

มาตรฐานการออกแบบอาคาร เพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหว

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?
Resilience

หมดฝนแล้ว ปีนี้จะหนาวมั้ย?

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร
Resilience

เอลนีโญและลานีญาส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน
Resilience

มาส่องต่างประเทศใช้ "เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" รับมือกับน้ำท่วมกัน

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน
Resilience

"โอโซน" มิตรร้ายกับภาวะโลกร้อน

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke
Resilience

อากาศร้อนแบบนี้ระวังเสี่ยง Heatstroke

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?
Resilience

GIS ช่วยเราคาดการณ์และป้องกันน้ำท่วมได้อย่างไร?