แบบจําลองประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจสําหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมภายนอกของโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานการใช้งานในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เขียนบทความโดย RISC | 3 ปีที่แล้ว
แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว
ปัจจุบันนี้ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการพัฒนาที่ดินในเขตเมืองส่งกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านความร้อนและการลดพื้นที่พรุนน้ําาในเขตเมือง สร้างปัญหาภาวะอยู่สบายนอกอาคารและน้ําาฝนไหลนองของพื้นที่ ซึ่งกระทบต่อการอยุ่อาศัยของคนเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการขนาดใหญ่แบบโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานการใช้งานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ดังนั้นการพัฒนาโครงการประเภทดังกล่าวควรให้ความสําาคัญในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เมื่อมีการนําาดัชนีเรื่องประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ ซึ่งประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจคือการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการพัฒนาต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่พิจารณาในครั้งนี้คือค่าอุณหภูมิสมดุลทางสรีรวิทยา สําาหรับการวัดภาวะอยู่สบายภายนอก และเลือกใช้ค่าน้ําาฝนไหลนองในการวัดประสิทธิภาพของการออกแบบพื้นที่รับน้ําา และเลือกการประเมินค่าต้นทุนการก่อสร้างอย่างง่ายในการทําางานวิจัยครั้งนี้ จากนั้นเลือกใช้โปรแกรม ENVI-met BioMet (V4) สําหรับการหาค่าอุณหภูมิสมดุลทางสรีรวิทยา และ Green Stormwater Infrastructure (GSI) for Autodesk Infraworks 360 สําหรับวัดค่าน้ําาฝนไหลนอง ซึ่งผลของการศึกษาพบว่าสามารถสร้างแบบจําาลองในการประมาณค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของการออกแบ โดยข้อค้นพบที่สําาคัญคือการเปลี่ยนเปลงพื้นผิวของโครงการส่งผลโดยตรงกับภาวะอยู่สบาย และเมื่อประกอบกับการเพิ่มต้นไม้ใหญ่ในโครงการก็ยิ่งส่งผลทางบวก ทั้งนี้สามารถสรุปได้ในท้ายที่สุดว่าแบบจําาลองประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจนี้สามารถนําาไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่เพื่อสร้างความน่าใช้งานของพื้นที่ภายนอกอาคารให้แก่ผู้อยู่อาศัยในโครงการขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยได้
อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jars/article/view/165416
อ้างอิง:
Boonmee, K. (2005). Eco-efficiency and competitiveness - State-of-the-Art and perspectives in Thailand. Bangkok, Thailand: German Technical Cooperation (GTZ)
Chappell, E. (2015). Autodesk Drainage Design for InfraWorks 360 Essentials: John Wiley & Sons.
Höppe, P. (1999). The physiological equivalent temperature – a universal index for the biometeorological assessment of the thermal environment. International Journal of Biometeorology, 43(2), 71-75.
Huppes, G., & Ishikawa, M. (2005). A framework for quantified eco-efficiency analysis. Journal of Industrial Ecology, 9(4), 25-41.
Jaber, F., Woodson, D., LaChance, C., & York, C. (2012). Stormwater Management: Rain Gardens: Texas A&M Agrilife Extensiono. Document Number)
Klaylee, J. (2015). The Assessment of Physical Design for Outdoor Thermal Comfort: Case Study of Thammasat University (Rangsit Center) (in Thai). Thammasat University, Patumthani.
Lehni, M., & Pepper, J. (2000). Eco-efficiency creating more value with less impact. Geneva, Switzerland: World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)
McCuen, R. H., & Bondelid, T. R. (1981). Relation between Curve Number and Runoff Coefficient. Journal of the Irrigation and Drainage Division, 107(4), 395-400.
Rinchumpoo, D. (2012). The rating tool of subdivision neighbourhood sustainability design (SNSD) for Bangkok Metropolitan Region (BMR), Thailand: An eco-efficiency modelling approach. Queensland University of Technology, Brisbane, Queensland, Australia.
Shonnard, D. R., Kicherer, A., & Saling, P. (2003). Industrial applications using BASF eco-efficiency analysis: Perspectives on green engineering principles. Environmental Science & Technology, 37(23), 5340-5348.
Simion-Melinte, C. (2016). Factors Influencing The Choice Of Cost Estimates Types And The Accuracy Of Estimates For Construction Projects. Paper presented at the Proceedings of the International Management Conference.
Sorvari, J., Antikainen, R., Kosola, M.-L., Hokkanen, P., & Haavisto, T. (2009). Eco-efficiency in contaminated land management in Finland – Barriers and development needs. Journal of Environmental Management, 90(5), 1715-1727.
Sukul, C., Rinchumphu, D., & Suttiwongpan, C. (2017). The Study of Runoff Efficiency in the Garden Area of Middle Tier Housing Project in Bangkok and Vinicity Provinces (in Thai). Paper presented at the ICMSIT 2017: International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2017, Faculty of Management Science, Suan Sunandha Rajabhat University.
Suropan, P., Rinchumphu, D., & Srivanit, M. (2017). The Study of Eco-efficiency from Outdoor Thermal Impacts for Hi-end Condominium Project in Central Business District of Bangkok (in Thai). Paper presented at the The National Conference on "Vernacular Creativity Wisdom", Faculty of Architecture, Chiang Mai University.
Thitisawan, N. (2009). Guidelines for materials selection to enhance post-occupancy satisfaction and reduce environment impact in common area of middle tier single detached house projects (in Thai). Thammasat University, Bangkok, Thailand.