RISC

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

1704 viewer

 

จากบทความก่อน (https://bit.ly/49Perie) หลายคนคงได้เห็นแล้วว่า การติดตั้งฉนวนกันความร้อนสามารถช่วยลดอุณหภูมิอากาศภายในบ้าน รวมไปถึงลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้​

มาถึงบทความนี้ เราจะมาดูตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนกัน ว่าติดตรงไหนดี ติดตรงไหนเหมาะ? รวมทั้งการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด?​

มาเริ่มที่ตำแหน่งที่ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนกันก่อน โดยตำแหน่งที่เหมาะสมจะเป็นตำแหน่งที่ได้รับความร้อนโดยตรง อย่างเช่น ความร้อนจากหลังคาร้อนที่สุด ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณใต้หลังคา ฝ้าเพดาน ซึ่งการเลือกควรเลือกใช้ฉนวนที่สามารถสกัดกั้นความร้อนได้ดี มีค่าการสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (K-Value) ต่ำๆ รวมทั้งสามารถสะท้อนความร้อนออกไปได้ เช่น ฉนวนกันความร้อนที่ปิดผิวด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยส์ มีน้ำหนักเบา กันความชื้นได้ดี กันไฟลาม ไม่ยุบตัว และประสิทธิภาพยาวนาน รวมถึงทนต่อการกัดแทะของหนูและแมลงต่างๆ ได้

อีกจุดที่ต้องใส่ใจก็คือ บริเวณรอยต่อหรือช่องว่างของบ้านที่อากาศร้อนภายนอกสามารถไหลเข้ามาภายในบ้านได้ อย่างเช่น ระหว่างผนัง ช่องว่างของประตูหน้าต่าง โดยควรเลือกฉนวนกันความร้อนชนิดที่สามารถกรุในช่วงว่างระหว่างผนังได้ เช่น โฟมเซลล์ปิด เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ ซึ่งค่าการสัมประสิทธิ์การนำความร้อนและความหนาจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของฉนวนเป็นอย่างมาก ยิ่งหนาก็ยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี กันความร้อนได้ดีไปด้วย นอกจากนี้ฉนวนนอกจากจะมีคุณสมบัติการกันความร้อนแล้ว ยังมีคุณสมบัติยังมีในการกันและดูดซับเสียง สามารถกันและลดความดังของเสียง ทะลุผ่านจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งได้ด้วย​

สำหรับการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน ควรเลือกฉนวนที่ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย ไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน (Asbestos) หรือการปนเปื้อนสารพิษอันตรายอื่นๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท หรือแคดเมียม และยังต้องทนต่อความชื้น ไม่เกิดเชื้อรา ปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ในระดับต่ำ ซึ่งสังเกตได้จากฉลากที่ระบุคำว่า Low VOCs หรือ Zero VOCs นอกจากนี้ต้องไม่ลามไฟหรือดับไฟได้เอง รวมทั้งไม่ปล่อยสารอันตรายจากการเผาไหม้ และที่สำคัญสุดต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติหรือวัสดุรีไซเคิล สามารถรีไซเคิลหรือหลังจากหมดอายุการใช้งาน รวมไปถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน​

เนื้อหาโดย คุณ สุพรรณภางค์ รักษาวงค์ นักวิจัยวัสดุ Sustainable Building Material​

แนะนำสำหรับคุณ

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Materials & Resources

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ
Materials & Resources

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
Materials & Resources

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้
Materials & Resources

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024
Materials & Resources

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024

รับข่าวสาร

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารกับเรา