Knowledge - RISC

Circular Economy กับการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เขียนบทความโดย RISC | 2 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

3438 viewer

หากพูดถึงธุรกิจอุตสาหกรรม...มีใครรู้บ้าง? ว่าธุรกิจอุตสาหกรรมใดที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

เราต้องยอมรับว่า ธุรกิจอุตสาหกรรมการก่อสร้าง นับว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย และยังสร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็น การระเบิดภูเขามาผลิตเป็นปูนซีเมนต์ การตัดต้นไม้ การนำหิน ทราย และแร่ธาตุต่างๆ มาใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง นอกจากนี้การออกแบบส่วนต่างๆ ของอาคารที่ขาดการตระหนักถึงความคุ้มค่าในการใช้วัสดุ ทำให้ต้องมีการตัดเศษวัสดุทิ้ง การรื้อถอน ทุบทำลาย และมีการใช้พลังงานสูงตลอดกระบวนการก่อสร้าง ยังไม่รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวนมหาศาลในการห้อหุ้มวัสดุก่อสร้างมาตอนขนส่งและกลายเป็นขยะทันทีเมื่อมาถึงพื้นที่ก่อสร้าง เราจึงเห็นขยะพลาสติก ขยะเศษวัสดุก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งขยะเหล่านั้น สุดท้ายก็จะถูกนำไปถมดินหรือลงหลุมฝังกลบแทบทั้งสิ้น

จากสิ่งที่ทำมา หากเราเข้าใจถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมากมายในทุกกระบวนการแล้ว ก็จะสามารถทำเรานำไปปรับปรุงและแก้ไขกระบวนการเหล่านั้น เพื่อลดผลกระทบได้ตรงจุด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “Circular Economy หรือ แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ถูกนำมาปรับใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งหากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ Circular Economy ก็คือ ระบบเศรษฐกิจที่ต้องการให้เราใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุดในทุกๆ กระบวนการ ทุกขั้นตอนต้องทำให้เกิดของเสีย (Waste) น้อยที่สุด และต้องสามารถนำของเสียเหล่านั้น หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการหรือแปรสภาพกลับมาเป็นทรัพยากรตั้งต้น (Resources) ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์

ความท้ายทายในการที่เราจะนำแนวคิดนี้ไปลงมือทำให้เกิดผลสำเร็จนั้น อันดับแรกต้องเริ่มที่การปรับ Mindset เปลี่ยนวิถีคิดแบบ Linear Economy เดิมๆ ที่ต่างคนต่างแก่งแย่งกันใช้ทรัพยากร มาคิดใหม่ทำใหม่โดยเริ่มจากการออกแบบและวางแผนวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Lifecycle Assessment) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงสิ้นสุดวงจรชีวิต เพื่อที่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะสามารถคืนสภาพ หรือนำกลับไปรีไซเคิลหมุนวนในระบบได้ใหม่อีกครั้ง แทนที่จะถูกทิ้งไปเป็นขยะเมื่อสิ้นสุดการบริโภค

ตัวอย่างที่ทาง RISC ได้มีการประยุกต์งานวิจัยที่เกี่ยวกับ Circular Economy มาปรับใช้จริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่น ​

• Recycled Concrete Aggregate (RCA) การรีไซเคิลหัวเสาเข็ม แล้วนำมาเป็นส่วนผสมในพื้นคอนกรีต โดยเป็นการนำเศษขยะหัวเสาเข็มจากการก่อสร้างมาบดและคัดแยกเศษโลหะออก เพื่อนำเศษคอนกรีตมาใช้เป็นส่วนผสมในพื้นคอนกรีต เป็นการลดปริมาณขยะหัวเสาเข็มและยังส่งเสริมแนวคิดด้าน Circular Economy​

• Recycled Plastic Road การผสมขยะพลาสติกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับถนนยางมะตอย โดยนำขยะพลาสติกมาบดและผสมลงในยางมะตอย เป็นการลดปริมาณขยะพลาสติก และเพิ่มมูลค่าของขยะผ่านการ Upcycling​

• Upcycling Curbside & Walkway การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ มีการนำแนวคิดด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาเป็นเกณฑ์หลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน เพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จะต้องมีการทดสอบมาตรฐาน และผ่านเกณฑ์ของ มอก. 827-2531 และ มอก. 378-2531 ให้ได้คุณภาพเทียบเท่ากับวัสดุในท้องตลาด และสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม​

เราจะเห็นได้ว่า การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างให้ประสบผลสำเร็จนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายต่อผู้ประกอบการหลายฝ่ายเป็นอย่างมาก เพราะมันคือ “โมเดลที่จะเปลี่ยนวิถีและรูปแบบการก่อสร้าง” ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อน Circular Economy ในวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้าง คือ การร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและมุ่งมั่นของทั้งภาครัฐและเอกชน โดย... ​

• หน่วยงานภาครัฐจะต้องสนับสนุนและออกนโยบาย สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ ​
• ภาคเอกชน Developer ต้องมีวิสัยทัศน์และจุดยืนในเรื่องการสร้างความยั่งยืน ต้องคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น​
• สถาปนิก วิศวกรผู้ออกแบบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ประกอบการผลิตวัสดุก่อสร้างต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ “คิดและทำไม่เหมือนเดิม เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ยั่งยืน”​

จากทุกสิ่งที่ทำทั้งหมดนี้ ก็เพื่อช่วยกันชะลอวิกฤตการณ์ภาวะโลกรวน ยืดอายุของโลกใบนี้ไว้ให้ได้นานที่สุด ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยนั้น ได้มีการรวมกลุ่มพันธมิตรและผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง ภายใต้ “เครือข่ายความร่วมมือองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in Construction Industry: CECI)” โดย MQDC ร่วมเป็นหนึ่งใน 23 พันธมิตรในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ภายใต้กลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อที่จะขับเคลื่อนแนวคิด Circular Economy อย่างเป็นรูปธรรมไปพร้อมๆ กัน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่จะยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยให้ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างสมบูรณ์ในที่สุด

เนื้อหาโดย คุณ ทิพทับทิม ภูมิพาณิชย์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส RISC ​

แนะนำสำหรับคุณ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
Materials & Resources

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?
Materials & Resources

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้
Materials & Resources

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024
Materials & Resources

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024

ส่งท้ายปีนี้ ด้วยการมอบของขวัญแนวรักษ์โลก
Materials & Resources

ส่งท้ายปีนี้ ด้วยการมอบของขวัญแนวรักษ์โลก

SAND CRISIS วิกฤติทรายกำลังจะหมดโลก
Materials & Resources

SAND CRISIS วิกฤติทรายกำลังจะหมดโลก

รับข่าวสาร

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารกับเรา

© 2025 Magnolia Quality Development Corporation Limited - A DTGO Company
ผลลัพธ์
การยืนยัน
การยืนยัน