RISC

ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก 2024

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

3496 viewer

RISC ชวนเพื่อนๆ ส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลก อย่างที่เราทราบกัน ไม่ว่าจะในวงการแฟชั่น รถยนต์ หรือเทคโนโลยี ต่างก็มีเทรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาในทุกๆ ปี ซึ่งไม่ต่างอะไรกับในฝั่งของสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ก็จะมีเทรนด์ใหม่ๆ หมุนเวียนมาโดยตลอดเช่นกัน โดยเฉพาะกระแสรักษ์โลก ลดโลกร้อน รักสุขภาพที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ทำให้การเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างมีมุมมองที่เปลี่ยนไป​

งั้นวันนี้ชวนเพื่อนๆ มาส่อง 5 เทรนด์วัสดุรักษ์โลกสำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างในในปี 2024 กัน ว่ามีแนวไหนบ้าง...​

วัสดุที่มาจากท้องถิ่น (Locally Sourced Material) การใช้วัสดุท้องถิ่นที่ผลิตได้ในประเทศ เป็นหัวใจสำคัญในการช่วยลดการปล่อยมลพิษ Carbon Footprint จากการขนส่งจากต่างประเทศได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้อีกด้วย​

วัสดุรีไซเคิล (Recycled Material) การนำเศษวัสดุก่อสร้างหรือขยะจากการก่อสร้าง นำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิต รวมทั้งการใส่ไอเดียและนวัตกรรมต่อยอดแปลงเป็น Upcycled Material ก็สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เช่นกัน นอกจากจะช่วยลดขยะที่จะไปยังหลุมฝังกลบ ก็ยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์อีกด้วย​

วัสดุชีวภาพ (Bio-base Material) วัสดุที่มาจากธรรมชาตินี้เริ่มเป็นที่นิยมและมีการวิจัยและพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างมากขึ้น เช่น ไม้ ไม้ไผ่ อิฐไมซีเลียมที่ทำมาจากเชื้อรา หรือแม้แต่กัญชง (Hemp) เพราะวัสดุที่ผลิตมาจากชีวภาพนั้น เป็นวัสดุที่สามารถปลูกขึ้นมาทดแทนใหม่ได้เรื่อยๆ มีความยั่งยืนกว่าพวกคอนกรีต ที่ไม่สามารถสร้างภูเขาขึ้นมาทดแทนได้ และวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาตินี้ยังส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยด้าน Mental Health อีกด้วย​

วัสดุอัจฉริยะ (Smart Material) เป็นการพัฒนาวัสดุให้มีคุณสมบัติดีขึ้น อย่างเช่น คอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้ ผนังอาคารที่ปรับเปลี่ยนได้ตามอุณหภูมิและแสง และกระเบื้องมุงหลังคาที่ประหยัดพลังงาน ทั้งหมดนี้กำลังกลายเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากขึ้นในอนาคต

วัสดุที่ดีต่อสุขภาพ (Health Material) วัสดุล้วนมีผลกระทบต่อผู้อยู่ภายในอาคาร หากเข้าใจจะเลือกคุณสมบัติที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ได้แก่ วัสดุ Non-Toxic สารพิษต่ำ, วัสดุ Low VOC , วัสดุลดการสะสมของฝุ่น เชื้อรา และแบคทีเรีย หรือจะเป็นวัสดุที่ช่วยทำให้คุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารมีคุณภาพที่ดี อย่างสีฟอกอากาศ กระเบื้องต้านไวรัส ผ้าม่านลดการสะสมของฝุ่น ซึ่งเทรนด์วัสดุด้านสุขภาพนี้เป็นเทรนด์ที่ยังคงได้รับความสนใจและมีวัสดุใหม่ๆ ในท้องตลาดที่เน้นเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง  ​

แน่นอนว่า วัสดุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน งบประมาณ เทคโนโลยีการก่อสร้าง และวิสัยทัศน์ของเจ้าของโครงการและนักออกแบบ อย่างไรก็ตาม เทรนด์วัสดุแนวรักษ์โลกนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกในการใช้วัสดุที่มีความยั่งยืน สร้างสรรค์ และมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพ For All Well-Being ในการออกแบบสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกันมากขึ้นนั่นเอง

เนื้อหาโดย คุณ ทิพทับทิม สรรเพชุดาศิลป์ สถาปนิกวิจัยอาวุโส, Sustainable Building Materials, RISC​

แนะนำสำหรับคุณ

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Materials & Resources

"วัสดุก่อสร้างจากเถ้าชีวมวล" ทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ
Materials & Resources

Photocatalytic Coating นวัตกรรมเคลือบผิววัสดุ เปลี่ยนมลพิษให้ดีต่อลมหายใจ

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ
Materials & Resources

พรมที่่ต้องการทิ้ง ชุบชีวิตมาใช้ใหม่กันเถอะ

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
Materials & Resources

"Low Carbon Materials" ทางเลือกเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา
Materials & Resources

เลือกไม้อย่างไร? ให้ไม่ขึ้นรา

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?
Materials & Resources

หน้าฝนไม่ลื่นไม่ไถล วัสดุพื้นแบบไหนที่ช่วยกันลื่นได้?

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง
Materials & Resources

นวัตกรรมการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?
Materials & Resources

เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบไหนถึง Well-being?

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้
Materials & Resources

ฤดูร้อนนี้ไม่ต้องยืนมองฟ้า แค่หา "ฉนวนกันความร้อน" มาใช้

รับข่าวสาร

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารกับเรา