RISC

Knowledge Plants & Biodiversity

Plants & Biodiversity

เมื่อเข้าฤดูฝน​ พฤติกรรมสัตว์เปลี่ยนไป....อย่างไรบ้าง?

โดย RISC | 1 วันที่แล้ว

On rainy days we often look for shelter—and many animals also seek refuge under leaves or bushes. But for some creatures it’s the time to get active.Rain doesn’t only help plants grow lush and green. Both small and large animals can also benefit. Moisture-loving creatures like frogs, toads, earthworms, snails, and some insects become more active. They move about and forage as the ground becomes damp. The moisture in the soil makes it easier for them to move and reduces the risk of losing water through their skin. Predators like small snakes also take advantage of this moment to hunt. The rainy season marks the beginning of the breeding season for many species, especially amphibians and insects. The humidity and temporary water sources provide ideal conditions for laying eggs and nurturing young.If you who want to create a nature-friendly garden, a small water feature can attract a variety of animals. Plant a diverse mix of vegetation, including low shrubs, fruit trees, and flowering plants, to create habitats and shelters for wildlife. Using organic fertilizers also helps preserve soil-dwelling creatures and supports long-term biodiversity in your garden.To keep unwanted animals away, regular garden maintenance is key. Trim overgrown bushes and grass. Routinely check and clear potential hiding spots like wood piles, stones, or old pots. This helps reduce the chance of dangerous animals taking up residence.Rain not only changes the atmosphere around us—it also reveals the quiet rhythm of life in nature. So next time it rains, take a moment to look around. You might discover something you've never seen before, just waiting for you to notice. Story by Kotchakorn Rattanama, Biodiversity Researcher, RISC

60 viewer

เลือก Light อย่างไร ให้ไร้รบกวน

โดย RISC | 1 เดือนที่แล้ว

“แสง” สิ่งที่ช่วยให้เรามองเห็น ไม่ว่าจะเป็นแสงธรรมชาติจากดวงอาทิตย์ หรือแสงจากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา แสงจึงมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตบนโลก​โดยแสงที่ตาเราสามารถมองเห็นจะอยู่ในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 400 - 700 นาโนเมตร นอกเหนือจากแสงที่ตามองเห็นแล้ว ก็ยังมีแสงประเภทอื่นๆ ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และรังสีอินฟราเรด (IR)​นอกจากแสงจะช่วยให้มองเห็น และดำรงชีวิตได้สะดวกขึ้นแล้ว แสงจากดวงอาทิตย์ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้ แสงยังถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีต่างๆ อีกมากมาย ทั้งการแพทย์ การสื่อสาร หรือการคมนาคม​แม้ว่าแสงจะมีประโยชน์มากมาย แต่การใช้แสงไฟที่มากเกินไป หรือไม่เหมาะสมนั้น สามารถก่อให้เกิด “มลพิษทางแสง” (Light Pollution) ได้ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มักถูกมองข้ามอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์​ปัญหานี้เกิดจากแสงไฟที่ฟุ้งกระจายเกินความจำเป็น อย่างเช่น แสงไฟจากถนน อาคารสูง และป้ายโฆษณาที่ส่องสว่างตลอดคืน มลพิษทางแสงเหล่านี้รบกวนพฤติกรรมในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ส่งผลให้สัตว์ป่าเสียสมดุลในการดำรงชีวิต เช่น นกอพยพที่บินผิดเส้นทาง เต่าทะเลที่หลงทิศทางจากแสงไฟตามแนวชายฝั่ง และยังมีสัตว์ป่าอีกหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาความมืดในการดำรงชีวิต ​เพื่อลดผลกระทบของมลพิษทางแสงต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม เราจึงควรเลือกใช้แสงที่เหมาะสม โดยเฉพาะแสงที่ไม่รบกวนวงจรชีวิต และพฤติกรรมของสัตว์ในธรรมชาติ​จากรายงานวิจัย พบว่า แสงไฟที่เหมาะสมควรมีค่าอุณหภูมิสีสัมพันธ์ (Correlated Color Temperature, CCT) ไม่เกิน 3000 เคลวิน (K) มีค่าความยาวคลื่นโดยประมาณอยู่ที่ 600 - 700 นาโนเมตร ซึ่งให้แสงสีเหลืองอุ่น (Warm White) ที่สำคัญเราควรใช้ไฟที่มีทิศทางของแสงสว่างชัดเจน ไม่กระจายแสงหรือหันแสงไฟออกไปยังท้องฟ้า หรือพื้นที่ธรรมชาติที่มีสัตว์อาศัยอยู่ นอกจากนี้ เรายังสามารถช่วยลดมลพิษทางแสงได้ด้วยการปิดไฟที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการเปิดไฟตลอดทั้งคืน หรือระบบตั้งเวลาปิด-เปิด เพื่อให้แสงทำงานเฉพาะเมื่อมีความจำเป็น การใช้และการจัดการแสงอย่างเหมาะสมจึงสามารถช่วยลดมลพิษทางแสง และรักษาสมดุลของธรรมชาติให้ยั่งยืนได้ รวมถึงยังช่วยให้สิ่งมีชีวิตยังคงดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามปกติในสภาพแวดล้อม​เนื้อหาโดย คุณ กชกร รัตนมา นักวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ RISC​

442 viewer

พื้นที่สีเขียวคือหัวใจของชีวิตที่ดีขึ้น

โดย RISC | 1 เดือนที่แล้ว

รู้หรือไม่ ใน 1 ปีต้นไม้ที่เติบโตเต็มที่บนพื้นที่ 1 เอเคอร์ หรือ 4,050 ตารางเมตร หรือ 2.53 ไร่ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เทียบเท่ากับปริมาณที่รถยนต์ปล่อยออกมาเมื่อขับเป็นระยะทาง 26,000 ไมล์ หรือ 41,842 กิโลเมตร​อย่างที่เรารู้กันว่า การที่เราใช้เวลากับต้นไม้ เราจะได้ประโยชน์มากมาย ตั้งแต่การลดความเครียดไปจนถึงการเพิ่มความสามารถในการรับรู้ ต้นไม้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และในปัจจุบัน การขยายและพัฒนาของชุมชนเมือง ทำให้ต้นไม้มีความสำคัญ และได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่...​1. ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง: เพราะเมืองที่มีต้นไม้ และภูมิทัศน์สีเขียวมากขึ้นจะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับพื้นที่สาธารณะ และสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น เมืองที่มีพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอยังช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการออกกำลังกาย และกิจกรรมกลางแจ้งแก่ประชาชน อย่างเช่น การเดินเล่นในสวนสาธารณะ หรือการเล่นกีฬาในพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน ทำให้เกิดสังคมที่มีความสามัคคีและปลอดภัย อีกทั้ง การออกแบบพื้นที่สีเขียวที่เชื่อมโยงกับทางเดินและเส้นทางจักรยานก็ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้คนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพอากาศ และลดปัญหาจราจรติดขัดในเมืองได้อีกด้วย​2. สุขภาวะทางกายภาพ และการลดความเครียด: การใช้เวลาในพื้นที่สีเขียว อย่างการอาบป่า (Forest Bathing) ช่วยรักษาระดับความดันโลหิต และสร้างความรู้สึกสงบ หรือในแง่ของเมือง พนักงานออฟฟิศที่สามารถมองเห็นต้นไม้จากที่ทำงาน รายงานที่ระบุไว้ว่า จะมีระดับความเครียดต่ำกว่าและมีความพึงพอใจในงานมากขึ้น นอกจากนี้ ต้นไม้สามารถลดอุณหภูมิพื้นผิวลงได้มากถึง 12°C ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความร้อน ซึ่งงานวิจัยของ Forest Research ในสหราชอาณาจักรพบว่า การไปเยี่ยมชมป่าช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิต และอาจช่วยประหยัดงบประมาณของ NHS (ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร) ได้ถึง 185 ล้านปอนด์ต่อปีในการรักษาผู้ป่วย​3. เสริมสร้างสุขภาพทางอารมณ์และพัฒนาการด้านสติปัญญา: ธรรมชาติมีส่วนช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า และวิตกกังวล โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน แม้ใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาทีในพื้นที่สีเขียวก็อาจส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้ นอกจากนี้ การใช้เวลากับธรรมชาติยังช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหา ทำให้คนมีสมาธิ และประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ยังมีการศึกษาในเด็กพบว่า การเล่นและเรียนรู้ในพื้นที่สีเขียวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญา ทำให้มีความสามารถในการจดจำ และคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้น อีกทั้ง การเดินเล่นในสวน หรือป่าธรรมชาติยังช่วยให้สมองได้พักจากสิ่งเร้าต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น และมีความสุขมากขึ้นในระยะยาว​4. สร้างชุมชนที่ปลอดภัยขึ้น: พื้นที่ที่มีต้นไม้น้อยมักมีอัตราความรุนแรง และอาชญากรรมสูงกว่าพื้นที่ที่มีต้นไม้หนาแน่น ต้นไม้และภูมิทัศน์สีเขียวยังสามารถช่วยลดความกลัว และส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชนได้ อีกทั้ง การมีพื้นที่สีเขียวที่ได้รับการดูแลอย่างดี ยังทำให้ผู้คนออกมาใช้พื้นที่สาธารณะมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเฝ้าระวังตามธรรมชาติของชุมชน ช่วยลดโอกาสในการเกิดอาชญากรรม เช่น การโจรกรรมและการทำร้ายร่างกาย นอกจากนี้ ต้นไม้ที่ปลูกริมถนนยังสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะช่วยลดระดับมลพิษที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นลงได้มากกว่า 50% ในขณะเดียวกัน ต้นไม้ยังช่วยลดมลภาวะทางเสียงจากการจราจร และกิจกรรมในเมือง ทำให้ชุมชนมีบรรยากาศที่สงบ และน่าอยู่มากยิ่งขึ้น​จะเห็นได้ว่าต้นไม้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศและน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ส่งเสริมความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชน และสนับสนุนสุขภาพโดยรวม นอกจากนี้ ต้นไม้ยังเป็นทางออกที่คุ้มค่าต่อการรับมือกับผลกระทบที่รุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และอุทกภัย การตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้ไม่เพียงช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังสร้างชุมชนที่มีสุขภาพดี ปลอดภัย และมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นอีกด้วย​เนื้อหาโดย คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C และ WELL AP​อ้างอิงข้อมูลจาก​1. TreePeople Organization. (n.d.). 22 benefits of trees. Retrieved from https://treepeople.org/22-benefits-of-trees/​2. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (2021). The health benefits of trees. Retrieved from https://hsph.harvard.edu/news/the-health-benefits-of-trees/​3. Arbor Day Foundation. (n.d.). The value of trees. Retrieved from https://www.arborday.org/value​4. NHS Forest. (n.d.). Why do humans need trees for health? here's what you.... Retrieved from https://nhsforest.org/blog/humans-need-trees-for-health/​5. Savatree. (n.d.). The importance of trees - learn value and benefit of trees. Retrieved from https://savatree.com/resource-center/tree-varieties/why-trees/​6. Immerse yourself in a forest for better health. Retrieved from https://dec.ny.gov/nature/forests-trees/immerse-yourself-for-better-health

502 viewer

ฤดูฝุ่นแบบนี้ ต้นไม้อะไรช่วยดักจับฝุ่นให้เราได้เยอะบ้าง?

โดย RISC | 2 เดือนที่แล้ว

ช่วงฤดูฝุ่นแบบนี้ เซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ และเครื่องฟอกอากาศในหลายๆ บ้าน คงทำงานหนักมากๆ แต่...รู้หรือไม่ นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ทำงานหนักไม่แพ้กัน​เพราะฮีโร่จากธรรมชาติอย่างต้นไม้ ก็รับบทเครื่องกรองฝุ่นอยู่ด้วยเช่นกัน​ลักษณะทางกายภาพของใบไม้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ใบมีขน ผิวใบขรุขระ ผิวใบมัน รวมถึงต้นไม้ที่มีใบเยอะ หรือมีกิ่งก้านที่ซับซ้อน จะช่วยในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 และดูดซับมลพิษผ่านทางปากใบในขณะที่ต้นไม้ทำการสังเคราะห์แสง ​ผลจากงานวิจัยการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กจากควันธูปด้วยพืชในอาคาร จากการทดสอบพืชทั้งหมด 16 ชนิด โดยปล่อยควันธูปในกล่องทดลองที่มีพืชในอาคาร 1 ต้นเป็นเวลา 30 นาที เปรียบเทียบกับกล่องทดลองเปล่าที่ไม่มีต้นไม้ พบว่า ต้นกวักมรกตมีความสามารถในการดักจับ PM2.5 ได้มากที่สุด คือร้อยละ 30.87 รองลงมาคือต้นลิ้นมังกร อยู่ที่ร้อยละ 23.70​ในขณะที่งานวิจัยโดย รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร ได้ทดลองต้นไม้ในระบบปิดขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ความเข้มข้น PM2.5 เริ่มต้นที่ 450-500 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่า ต้นพรมกำมะหยี่ลดฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 60 และต้นลิ้นมังกรลดฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งต้นไม้เหล่านี้เป็นกลุ่มไม้ประดับสามารถเลือกปลูกในอาคาร หรือนำไปปลูกที่หน้าต่างเพื่อดักอากาศก่อนที่ลมจะพัดพาเข้าบ้านได้​แต่หากพื้นที่บ้านใครยังพอมีที่ว่างด้านนอกอาคารก็สามารถออกแบบสวนให้ช่วยในการลดฝุ่นได้เช่นกัน​อย่างทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เผยแพร่สวนต้นแบบที่มีการใช้ไม้ยืนต้นเพื่อลดฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน ที่สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสวนนี้เลียนแบบระบบนิเวศที่ต้นไม้ต้องมีความหลากหลาย และใช้ศักยภาพของแต่ละต้นที่แตกต่างกันไป โดยเลือกต้นไม้ที่มีความสูง 3 ระดับ คือ​- ไม้ขนาดใหญ่ เช่น ราชพฤกษ์ ประดู่บ้าน และพิกุล​- ไม้ขนาดกลาง เช่น โมก และไทร​- ไม้พุ่มคลุมดิน เช่น ต้นหมาก ต้นเดหลี ต้นพลูปีกนก ต้นกวักมรกต ต้นคล้ากาเหว่าลาย ต้นคล้าแววมยุรา ต้นคล้านกยูง​ซึ่งการปลูกไม้ 3 ระดับนั้น ก็เพื่อเป็นแนวกันชนในการกำบังฝุ่น และควรปลูกอย่างน้อย 2 ชั้น โดยชั้นที่หนึ่งที่ปะทะลมให้ปลูกไม้พุ่มขนาดเล็ก และแถวที่สองปลูกไม้พุ่มขนาดกลางสลับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นการใช้ต้นไม้ดักลมให้อากาศเคลื่อนที่ช้าลง และทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กถูกดักจับด้วยใบพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความชื้นจากการคายน้ำของพืชบริเวณนั้นจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับฝุ่นละลองขนาดเล็กในอากาศให้เคลื่อนที่ลดลง และควรรดน้ำต้นไม้บริเวณนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อล้างใบ และเพิ่มความชื้นในดิน ซึ่งการจัดเรียงต้นไม้อย่างเหมาะสมนี้จะช่วยกำบังฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 20-60 เลยทีเดียว​เนื้อหาโดย คุณ พันธ์พิสุ จุลพันธ์วัฒนา สถาปนิกวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A, RISC ​อ้างอิงข้อมูลจาก​กันติทัต ทับสุวรรณ, ศิรเดช สุริต. (2564). การดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กจากควันธูปด้วยพืชในอาคาร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(12); 80-93. ​ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร. (2565). การใช้พืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน Sustainable PM Phytoremediation by Perennials Plants. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​

521 viewer

ค่า pH ในดินสำคัญต่อพืชอย่างไร?​

โดย RISC | 3 เดือนที่แล้ว

ดินไม่ได้มีหน้าที่แค่พื้นรองรากต้นไม้ แต่เป็นแหล่งชีวิตของต้นไม้ที่เต็มไปด้วยธาตุอาหารสำคัญ หากคุณภาพดินอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นไม้ก็จะเติบโตได้เป็นอย่างดี​โดยทั่วไป ต้นไม้มีความต้องการธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตทั้งหมด 14 ชนิด ซึ่งแบ่งเป็น...​ธาตุอาหารหลัก (Macronutrients) มี 6 ชนิด ได้แก่ Nitrogen (N), Phosphorus (P), Potassium (K), Calcium (Ca), Magnesium (Mg) และ Sulfur (S) ทั้งหมดเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต้องได้รับในปริมาณมาก หากขาดธาตุอาหารหลักเหล่านี้ อาจทำให้พืชมีลักษณะแคระ ไม่โต จนถึงทำให้ต้นเหี่ยว และตายได้​ธาตุอาหารรอง (Micronutrients) มี 8 ชนิด ได้แก่ Iron (Fe), Manganese (Mn), Zinc (Zn), Copper (Cu), Boron (B), Molybdenum (Mo), Nickle (Ni) and Chlorine (Cl) ทั้งหมดเป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกัน​ซึ่งธาตุอาหารที่พืชต้องการเหล่านี้มักมีอยู่ในดิน แต่การที่พืชจะสามารถดูดซึมได้ดีหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH ของดิน ที่จะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการละลายได้ของธาตุอาหารแต่ละธาตุให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูซึมได้​โดยทั่วไปแล้วค่า pH ดินที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 6 – 6.5 หากดินมีค่า pH ที่สูงหรือต่ำไปกว่านี้ ก็จะส่งผลให้ธาตุบางชนิดละลายได้น้อยลง และไม่อยู่ในรูปแบบที่พืชสามารถดูดซึมได้ อย่างเช่น ถ้า pH ต่ำกว่า 6 แร่ธาตุฟอสฟอรัสจะละลายได้น้อยลง และหากดินมีค่าความเป็นกรดมากๆ จะส่งผลให้มีผลผลิตที่ลดลง รากจะสั้น บวม และปลายรากอาจถูกทำลาย​แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ อย่างกรณีดินมีค่าความเป็นกรด เราสามารถแก้ได้ด้วยการใช้วัสดุที่มีปูนขาวผสมอยู่ เช่น ขี้เถ้าของไม้ หินปูนบด ปูนขาว โดโลไมต์ เพื่อลดความเป็นกรด แต่หากดินมีค่าความเป็นเบสมาก เราสามารถแก้ได้ด้วยการใช้อะลูมิเนียมซัลเฟต หรือกำมะถัน เพื่อลดค่าความเป็นด่างให้กับดินได้​เนื้อหาโดย คุณ นครินทร์ ผ่องแผ้ว นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC

618 viewer

ทำไมต้นไม้ในเขตเมืองมักมีดอกน้อยกว่าปกติ

โดย RISC | 3 เดือนที่แล้ว

ต้นไม้ที่อยู่ในธรรมชาติ มักออกดอกอย่างสวยงามให้เราได้ชมตามฤดูกาล แต่เคยสังเกตมั้ย? ทำไมต้นไม้ในเขตเมืองกลับไม่ค่อยออกดอก หรือมีเห็นได้น้อยกว่าต้นไม้ตามธรรมชาติ​ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกดอกของต้นไม้กัน ซึ่งการออกดอกนั้นมีทั้งปัจจัยภายใน เช่น ความต้องการแสงของต้นไม้ (บางชนิดจะออกดอกเมื่อได้รับแสงในวันเป็นระยะเวลาสั้น บางชนิดออกดอกเมื่อได้รับแสงในวันเป็นระยะเวลายาว) หรืออายุของต้นไม้ที่เหมาะสม และปัจจัยภายนอก เช่น แสง น้ำ และการตัดแต่ง​ต้นไม้ในเมืองมักจะถูกปลูกในพื้นที่ที่มีแสงไฟในเวลากลางคืน ทำให้ต้นไม้มีเวลาอยู่ในช่วงความมืดลดลง (อ่านคอนเทนต์เพิ่มเติม https://bit.ly/3rF7P5g) ทั้งนี้มีงานวิจัยที่ระบุว่าต้นไม้บางชนิดเมื่ออยู่ในระยะเวลากลางคืนที่น้อยหรือไม่ต่อเนื่อง การออกดอกก็จะถูกยับยั้ง ถึงแม้ว่าต้นไม้จะมีอายุที่เหมาะสม หรือต้นไม้บางต้นถูกปลูกใต้ร่มเงาของอาคาร ทำให้ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าปกติ​หรือแม้แต่ต้นไม้บางชนิดจะออกดอกในฤดูแล้งที่มีน้ำน้อย เนื่องจากการขาดน้ำกระตุ้นให้ต้นไม้เกิดความเครียด ต้นไม้จึงออกดอกเพื่อความอยู่รอดของสายพันธุ์ แต่ต้นไม้ในเมืองมักได้รับการรดน้ำเป็นประจำตลอดทั้งปี​การดูแลให้ต้นไม้ในเมืองออกดอกตามฤดูกาล จึงควรต้องเริ่มจาก "การเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่" การออกแบบพื้นที่ให้มีปริมาณแสงที่เหมาะสมทั้งแสงดวงอาทิตย์และแสงไฟ หรือการดูแลต้นไม้ให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ก็จะช่วยกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกตามฤดูกาลอย่างที่ควรจะเป็น และเพิ่มความสวยงามและคุณค่าให้กับพื้นที่ของเมืองได้​เนื้อหาโดย คุณ สิริวรรณ สุขงาม นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC ​อ้างอิงข้อมูลจาก​At gardare. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ประดับ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:  https://researchex.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/27-flowers/garden-tree/151-gardentree-4​มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป.). การเกิดดอก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=5&chap=2&page=t5-2-infodetail12.html​อมรธัช อุนจะนำ. การออกดอกและการติดผลของต้นไม้. พืชสวน. 5(1), 17-22​sd perspectives. (2562, 22 เมษายน). พื้นที่สีเขียว&ต้นไม้ในโครงการอสังหาฯ คืออีกสิ่งช่วยตัดสินใจซื้อ !. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.sdperspectives.com/next-gen/sansiri-tree-story-green-mission/​บ้านและสวน. (2563, 4 เมษายน). ตัดไม้ดอก อย่างไรให้ออกดอกสวย ลำต้นไม่โทรม?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.baanlaesuan.com/185555/baanlaesuan-school/trim-flower​Park, Y.G., Jeong, B.R. Both the Quality and Positioning of the Night Interruption Light are Important for Flowering and Plant Extension Growth. J Plant Growth Regul 39, 583–593 (2020). https://doi.org/10.1007/s00344-019-10002-5​พจนีย์ แสงมณี. 2563. ผลของการตัดแต่งกิ่งและจัดการธาตุอาหารที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะม่วงหิมพานต์. วารสารเกษตร. 36(3), 313-319

679 viewer

รู้หรือไม่? ​ต้นไม้ไม่ได้มีแค่รากแก้วและรากฝอย​

โดย RISC | 4 เดือนที่แล้ว

เมื่อเราพูดถึงรากของต้นไม้ ส่วนใหญ่เราก็จะรู้จักแต่รากแก้ว รากแขนงที่แตกออกจากรากแก้ว และรากฝอยเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้ว รากของพืชยังมีอีกมากมายหลายชนิด จนบางครั้งเราอาจคิดไม่ถึงว่าที่เคยเห็นนั้นเป็นราก​รากแก้ว (Tap Root) และรากแขนง (Lateral Root) เป็นรากที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งมีหน้าที่หลักในการค้ำจุนพืชให้ยึดติดอยู่ดินหรือวัสดุปลูก ดูดซึมน้ำ และแร่ธาตุจากดินส่งไปยังลำต้นเพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโต แต่พืชก็ยังมีรากพิเศษ (Adventitious Root) ที่เป็นรากที่พัฒนาเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อาจไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของพืช โดยรากพิเศษก็มีมากมายหลายชนิด เช่น...​รากค้ำยัน (Prop Root) หรือเสาหลักค้ำยัน (Pillar Root) เป็นรากที่ถูกพัฒนามาจากลำต้นภายใต้สภาวะเครียดที่เกิดจากน้ำท่วม พื้นดินอ่อนนุ่ม โดยมีหน้าที่ในการช่วยค้ำจุนให้ต้นไม้สามารถคงอยู่ได้ มีลักษณะที่เป็นเนื้อไม้งอกออกมาจากลำต้น ตัวอย่างรากชนิดนี้ที่เด่นชัดก็คือ ต้นโกงกางในป่าชายเลนนั่นเอง​รากสะสมอาหาร (Storage Root) เป็นรากที่มีความสามารถเก็บสะสมอาหารไว้ภายในราก และมีรูปร่างที่หลากหลาย เช่น ทรงกรวย (Conical) ทรงกระสวย (Fusiform) ทรงหัวใจ (Napiform) และทรงนิ้วมือ (Tuberous) พืชที่มีรากชนิดนี้เรารู้จักกันเป็นอย่างดีแน่นอน แต่เราอาจไม่รู้ว่ามันคือราก เช่น มันสำปะหลัง แครอท บีทรูท​รากอากาศ (Aerial Root) เป็นรากที่ทำหน้าที่ยึดเกาะตามพื้นที่ต่างๆ เช่น พวกกลุ่มไม้เลื้อย บางชนิดมีคลอโรพลาสที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ทำให้เห็นเป็นสีเขียวบริเวณนั้นอย่างชัดเจน เช่น รากกล้วยไม้​รากหายใจ (Air Root) เป็นรากที่มีหน้าที่แลกเปลี่ยน และลำเลียงก๊าซออกซิเจนไปใช้ในรากที่อยู่ภายในดิน เช่น Pneumatophore ของต้นแสมขาวในป่าชายเลน เนื่องจากป่าชายเลนมีน้ำท่วมตลอดเวลา ทำให้รากที่อยู่ใต้ดินขาดออกซิเจน พืชจึงได้พัฒนาตัวเองให้โผล่พ้นดินเพื่อใช้ในการหายใจ​รากปรสิต (Parasitic Root) เป็นรากของพืชปรสิตที่จะคอยชอนไช และแทงลึกเข้าไปในรากของพืชชนิดอื่น เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารหลักให้กับตัวเอง โดยรากปรสิตนี้อาจทำให้ต้นหลัก (Host) เจริญเติบโตได้ช้าลงจนไปถึงเหี่ยวเฉาและตายได้​รากพูพอน (Buttress Root) เป็นรากที่เกิดจากการปรับตัวของต้นไม้บางชนิดที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น บริเวณริมน้ำ หรือพื้นที่ดินตื้น จึงทำให้รากแก้วไม่สามารถชอนไชลงไปในดินได้ จนต้องปรับตัวให้มีลักษณะเป็นแผงใหญ่ยื่นออกนอกลำต้นทางโคน เพื่อให้สามารถพยุงตัวอยู่ได้เนื้อหาโดย คุณ นครินทร์ ผ่องแผ้ว นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC

855 viewer

ต้นไม้เหี่ยวเพราะขาดน้ำ จริงหรือ?

โดย RISC | 4 เดือนที่แล้ว

หากพูดถึงการปลูกต้นไม้ เชื่อว่าใครหลายคนคงทำได้ไม่ยากเกินไป แต่...การดูแลต้นไม้ให้สุขภาพดี อาจต้องใช้ความรู้ และความเข้าใจมากกว่านั้น​การดูแลต้นไม้จำเป็นต้องเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพต้นไม้ เช่น แสงแดด ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิ และปุ๋ย โดยเฉพาะน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะถ้าต้นไม้ขาดน้ำจะส่งผลให้ต้นไม้เฉาตายได้ แต่ในทางกลับกัน การให้น้ำที่มากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ป่วย และตายได้ด้วยเช่นกัน​โดยทั่วไปชั้นดินเขตรากพืชจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ เนื้อดิน ช่องว่างในดินที่มีอากาศ และน้ำ การรดน้ำเป็นประจำโดยไม่สังเกตสภาพแวดล้อมของพื้นที่ จนทำให้มีน้ำสะสมอยู่เต็มช่องว่างในดินเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาต่อต้นไม้ตามมา นั่นก็คือ รากเน่า รากขาดออกซิเจนสำหรับหายใจ และโรคที่มาพร้อมกับความชื้น เช่น โรคจากเชื้อรา เมื่อเชื้อราสามารถเจริญเข้าไปในรากพืชได้ เชื้อราจะลุกลามไปทั่วลำต้น และแพร่ระบาดผ่านอากาศและน้ำ ปัญหาเหล่านี้ทำให้รากดูดซึมน้ำ และสารอาหารได้ลดลง การเติบโตของต้นไม้จึงหยุดชะงัก​การให้น้ำต้นไม้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดูแลต้นไม้ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง การตรวจสอบสภาพดิน และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนปริมาณน้ำตามสภาพอากาศ และความต้องการของต้นไม้ จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากการให้น้ำมากเกินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ เนื้อหาโดย คุณ สิริวรรณ สุขงาม นักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คุณ ธนวัฒน์ จินจารักษ์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายสิ่งแวดล้อม Urban Environmental & Biodiversity Engineer, RISC​อ้างอิงข้อมูลจาก​กรมส่งเสริมการเษตร. 2558. การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าในการปลูกพืชผัก และพืชสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. https://esc.doae.go.th/vegetable/​กรมส่งเสริมการเษตร. หากพืชได้รับน้ำมากหรือน้อยเกินไป จะเกิดผลเสียอย่างไร. ​ยงยุทธ โอสถสภา. 2565. เข้าใจดิน ดูแลดิน หลังน้ำท่วม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.doae.go.th/answers/หากพืชได้รับน้ำมากหรือ/​เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ประเทศไทย. เชื้อราในพืช ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตจากภาวะพึ่งพาอาศัย ไปจนถึงภาวะปรสิต. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ngthai.com/science/48232/believe-in-plants/

623 viewer

ต้นไม้กับการพยากรณ์อากาศ ​สัญญาณธรรมชาติที่คุณอาจมองข้าม​

โดย RISC | 4 เดือนที่แล้ว

เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า หากอยากรู้ว่าต้นไม้มีอายุเท่าไหร่ ให้สังเกตที่วงปีของต้นไม้ แต่...รู้หรือไม่ว่า สีและความกว้างของวงปีนั้น ยังสามารถบอกได้ถึงสภาพอากาศได้อีกด้วย​?ต้นไม้สามารถตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมผ่านกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ต้นไม้อยู่รอดในธรรมชาติ โดยการตอบสนองนั้น ก็มีตั้งแต่การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้นและอุณหภูมิ, การปรับตัวตามฤดูกาล เช่น การผลัดใบ, การส่งสัญญาณผ่านราก การส่งกลิ่นไปในอากาศ เมื่อเกิดการถูกรบกวน และการตอบสนองผ่านการเจริญเติบโตของลำต้น กิ่ง เมื่อต้องการรองรับแรงลม​สภาพอากาศอย่างฝนตกตลอดไปจนอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลต่อการออกดอก และการเจริญเติบโตของต้นไม้เช่นเดียวกัน ต้นไม้บางชนิดสามารถสะสมพลังงาน เพื่อรอให้ถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก่อนที่จะแพร่พันธุ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ “ต้นยางนา”​ต้นยางนา ได้รับการขนานนามว่า เป็นต้นไม้ที่มีความสามารถในการพยากรณ์สภาพฝนฟ้าได้ โดยอาศัยการออกดอก และการติดผล ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อม เช่น ความชื้น อุณหภูมิ และปริมาณน้ำฝน การที่ต้นยางนาออกดอกและผลในปริมาณมาก มักเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงฤดูฝนที่อุดมสมบูรณ์ในปีนั้น โดยจากการเก็บข้อมูลความสัมพันธ์ของการติดดอกออกผลของต้นยางนา และปริมาณน้ำฝนของอาจารย์นพพร นนทภา มาเป็นเวลากว่า 10 ปีนำไปสู่การประมวลผล และจัดเก็บเป็นชุดข้อมูลไว้ใช้ทำนายฝนในต่างสถานที่ได้ และสามารถบอกได้ถึงทิศทางการมาของพายุฝนได้อีกด้วย​ความสามารถเหล่านี้อาจไม่ได้หมายถึงการพยากรณ์อากาศเหมือนมนุษย์ แต่เป็นกลไกการปรับตัวเชิงวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพของต้นไม้ ซึ่งยิ่งต้นไม้มีอายุมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่นั้นได้แม่นยำมากขึ้น​เนื้อหาโดย คุณ กชกร รัตนมา นักวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ RISCอ้างอิงข้อมูลจาก โรงเรียนปลูกป่า (Forest Plantation School)​

653 viewer

เคยสงสัยมั้ยว่า....ทำไมแมงมุมไม่ติดใยตัวเอง?

โดย RISC | 7 เดือนที่แล้ว

อะไรเอ่ย? แข็งแรงกว่าเหล็ก ยืดหยุ่นกว่ายาง​เฉลย ก็คือ...ใยแมงมุม นั่นเอง!!​หลายคนอาจจะไม่คิดว่า คำตอบจะเป็นใยแมงมุมได้ โดยธรรมชาติของเส้นใยที่แมงมุมสร้างขึ้นมานั้นจะมีความแข็งที่เหนียว หากเส้นใยแมงมุมมีขนาดเท่ากับดินสอ จะสามารถหยุดเครื่องบินโบอิ่ง 747 ขณะบินอยู่ได้เลย หรือหากลองนึกถึงตอนสไปเดอร์แมนยิงเส้นใยเวลาต่อสู้กับเหล่าวายร้าย หรือโหนไปมาแล้ว เราคงเห็นว่าเส้นใยของแมงมุมนั้นแข็งแรงมากเลยที่เดียว​นอกจากความแข็งแรงแล้ว เส้นใยของแมงมุมยังมีความมหัศจรรย์มากกว่านี้อีก​เส้นใยแมงมุมที่เหล่าแมงมุมสร้างขึ้นมาเพื่อดักจับสิ่งมิชีวิตนั้น จะมีเส้นใยหลายแบบผสมอยู่ ทั้งเส้นที่มีความเหนียวและไม่มีความเหนียวปะปนกัน การสร้างเส้นใยของแมงมุมนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป ซึ่งแมงมุมจะมีอวัยวะที่เป็นต่อมอยู่บริเวณด้านล่างส่วนท้องเพื่อใช้สำหรับสร้างเส้นใยอยู่ 7 ต่อมด้วยกัน และแต่ละต่อมก็จะมีหน้าที่ผลิตเส้นใยที่หลากหลายต่างกันออกไป​• ต่อม Glandula Aggregate จะสร้างเส้นใยที่มีสารเหนียวคล้ายกาว (Glue Silk) ​• ต่อม Glandula Ampulleceae – major จะสร้างเส้นใยสำหรับรับเเรง เเละเดิน (Walking Thread) มีความแข็งแรงและเหนียวมาก​• ต่อม Glandula Ampulleceae – minor จะสร้างเส้นใยสำหรับเดินชั่วคราวไว้ใช้ขณะกำลังทอใย (Walking Thread)​• ต่อม Glandula Pyrifomes จะสร้างเส้นใยสำหรับเกาะติด​• ต่อม Glandula Anciniformes จะสร้างเส้นใยสำหรับดักจับเหยื่อ (Capture Silk) มีความยืดหยุ่นสูงมาก ​• ต่อม Glandula Tubiliformes จะสร้างเส้นใยสำหรับสร้างรัง หรือ ถุงให้กับไข่และตัวอ่อน​• ต่อม Glandula Corontae จะสร้างเส้นใยที่มีความเหนียวติด ​ด้วยการเป็นผู้สร้างจึงย่อมรู้จักเส้นใยแต่ละเส้นที่ตัวเองสร้างเป็นอย่างดี เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมแมงมุมถึงไม่ติดเส้นใยที่ตัวเองสร้างไว้เลย อีกทั้งปลายขาของแมงมุมยังมีขนขนาดเล็ก และมีตะขอพิเศษ จึงทำให้เดินบนเส้นใยได้อย่างมั่นคงและไม่ติดเมื่อเดินบนเส้นใยที่เหนียวนั่นเอง​นอกจากนั้น ประโยชน์ของใยแมงมุมที่นอกเหนือจากการดักจับแมลง หรือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เพื่อเป็นอาหารแล้ว ยังมีหน้าที่สำหรับช่วยในการได้ยินโดยการสัมผัสจากการสั่นสะเทือนของเส้นใย ด้วยคุณสมบัติที่มากมายนั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักประดิษฐ์ในการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน, เข็มขัดนิรภัย หรือแม้แต่ไหมเย็บแผล​เป็นอย่างไรบ้างกับเรื่องราวอันน่าทึ่งของใยแมงมุม สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกับเราในทุกที่ ครั้งต่อไป RISC จะนำเรื่องราวอันน่าทึ่งของสิ่งมีชีวิตตัวไหนมาเล่าสู่กันฟังอีก รอติดตามได้ที่นี่​เนื้อหาโดย คุณ กชกร รัตนมา นักวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ RISC ​อ้างอิงข้อมูลจาก​Esme Mathis. (2022). Australian geographic. Unspinning the secrets of spider webs. From: https://www.australiangeographic.com.au/news/2024/07/cobra-bite-treatment/ (สืบค้นเมื่อ 1 August 2024)​ภวิกา บุณยพิพัฒน์. วารสารเทคโนโลยีการเกษตร. ใยแมงมุม. From:  http://oservice.skru.ac.th/ebookft/601/chapter_7.pdf (สืบค้นเมื่อ 1 August 2024)​

1013 viewer

รับข่าวสาร

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารกับเรา