RISC

ปิดไฟนอน VS เปิดไฟนอน แบบไหนดีกว่ากัน?

เขียนบทความโดย RISC | 1 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

5068 viewer

ใครเปิดไฟนอนยกมือขึ้น!!​

เชื่อว่าต้องมีบางคนติดนิสัยเปิดไฟนอนกันอย่างแน่นอน แต่...เคยสงสัยกันมั้ย? ระหว่างเราเปิดไฟนอนกับปิดไฟนอน แบบไหนดีต่อตัวเรามากกว่ากัน งั้นวันนี้ RISC จะรวบรวมข้อมูลงานวิจัยมาให้ตัดสินใจว่า จะเลือกเปิดไฟหรือปิดไฟนอน​

เมื่อสอบถามกับคนที่ชอบเปิดไฟนอนนั้น คนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า “ก็หลับได้สบายดีนี่” แต่เมื่อมาดูผลการศึกษาการทำงานของสมองเชิงลึกในขณะที่เปิดไฟนอนนั้นกลับพบว่า สมองไม่ได้พักผ่อนเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น ถึงแม้ว่าการเปิดไฟนอนนั้นจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็ตาม

โดยประโยชน์ของการเปิดไฟนอนนั้น หากเราต้องการนอนพัก 15-20 นาทีระหว่างวัน การเปิดไฟจะช่วยให้ตัวเราไม่หลับลึกจนเกินไป ซึ่งหากตื่นขณะที่ร่างกายอยู่ในโหมดหลับลึก เราจะรู้สึกเพลียมากๆ ทำให้การนอนพักระหว่างวันแทนที่จะให้ประโยชน์กลับเป็นผลเสีย อีกหนึ่งประโยชน์ของการเปิดไฟนอนคือ ช่วยเรื่องความกลัวของเด็กที่ไม่กล้าปิดไฟนอน หรือวัยผู้ใหญ่ที่รู้สึกกลัวที่ต้องนอนในสถานที่แปลกไปจากเดิม

สำหรับภัยใกล้ตัวจากการเปิดไฟนอน หากร่างกายได้รับแสงระหว่างกลางคืนมากเท่าใด จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการหลับลึกมากเท่านั้น เพราะการศึกษาพบว่า ร่างกายจะเข้าสู่ช่วงหลับลึก (Stage3) และ REM (Rapid Eye Movement) น้อยลงซึ่งทั้งสองช่วงจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพักผ่อน หรือก็คือร่างกายไม่ควรได้รับแสงขณะนอน เพราะจะกระทบรอบการหลับลึกของร่างกาย (การนอนหลับให้ได้ดีต้องทำอย่างไร? https://bit.ly/446ZaWM)​

นอกจากนี้ การเปิดไฟนอนยังกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนาฬิกาชีวิต หากทำงานผิดเพี้ยนไปก็จะส่งผลต่อความอ่อนล้าเมื่อเราตื่นขึ้นมา จะรู้สึกไม่สดชื่น อีกทั้งการเปิดไฟขณะนอนหลับและไฟจากหน้าจอโทรศัพท์เชื่อมโยงถึงความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้า และการเปิดไฟนอนยังเชื่อมโยงกับแนวโน้มที่เราจะทานอาหารเพิ่มขึ้นในวันถัดไป เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ ตามมาด้วยเช่นกัน

เราคงเห็นกันแล้ว จากข้อมูลจะพบว่าโทษของการนอนเปิดไฟนั้นมีมากกว่าประโยชน์ ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นจะช่วยเรื่องสุขภาพร่างกายเราได้มาก ส่วนใครที่ติดนิสัยเปิดไฟนอนอาจจะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การใช้ม่าน Black-Out, การปรับลดระดับแสงสว่างภายในห้องก่อนเข้านอน, การเข้านอนเวลาเดิมให้เกิดเป็นนิสัย, นำเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้นอกห้องนอน เช่น ทีวี โทรศัพท์, ควรออกกำลังกายในระหว่างวัน หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้เข้านอนดีขึ้น เช่น การอ่านหนังสือ การทำสมาธิ รวมทั้งเลือกที่นอนและหมอนที่ทำให้เรานอนหลับสบาย​

เนื้อหาโดย คุณ วสุธา เชน สถาปนิกวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญระดับ LEED AP BD+C, Fitwel Ambassador และ WELL AP, RISC

อ้างอิงข้อมูลจาก​
https://www.washingtonpost.com/wellness/2022/12/01/night-light-bad-sleep/​
https://www.healthline.com/health/sleeping-with-the-lights-on#summary​
Gooley JJ, Chamberlain K, Smith KA, Khalsa SB, Rajaratnam SM, Van Reen E, Zeitzer JM, Czeisler CA, Lockley SW. Exposure to room light before bedtime suppresses melatonin onset and shortens melatonin duration in humans. J Clin Endocrinol Metab. 2011 Mar;96(3):E463-72. doi: 10.1210/jc.2010-2098. Epub 2010 Dec 30. PMID: 21193540; PMCID: PMC3047226.​

แนะนำสำหรับคุณ

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว
Happiness Science

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life
Happiness Science

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด
Happiness Science

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?
Happiness Science

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​
Happiness Science

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?
Happiness Science

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?
Happiness Science

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ
Happiness Science

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม
Happiness Science

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก
Happiness Science

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก