ห้องสมุด Well-being Material - RISC

Well-being Biodiversity in MQDC Projects

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นประเด็นที่เราให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทางศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการศึกษามาประยุกต์ใช้จริงในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท MQDC จนในปัจจุบันได้มีการสร้างมาตรฐานความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของโลก ประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพก่อนดำเนินโครงการ การเก็บรักษาต้นไม้และการย้ายสัตว์ไปยังที่ปลอดภัย การออกแบบเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และการติดตามความหลากหลายทางชีวภาพหลังก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ นอกจากนี้เราตั้งใจที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ออกสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์และช่วยเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองต่อไป
จำนวนรวมทั้งหมดของพรรณพืช และพันธุ์สัตว์ที่เราได้มีการรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลในที่นี้
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดไปที่ชนิดพันธุ์ทั้งหมดได้
0
ชนิดพรรณพืชทั้งหมด
0
ชนิดพันธุ์สัตว์ทั้งหมด

ข้อมูลใหม่

ไม่มีข้อมูล

บทความด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดูทั้งหมด

knowledge image ฤดูฝุ่นแบบนี้ ต้นไม้อะไรช่วยดักจับฝุ่นให้เราได้เยอะบ้าง? ช่วงฤดูฝุ่นแบบนี้ เซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ และเครื่องฟอกอากาศในหลายๆ บ้าน คงทำงานหนักมากๆ แต่...รู้หรือไม่ นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ทำงานหนักไม่แพ้กัน​เพราะฮีโร่จากธรรมชาติอย่างต้นไม้ ก็รับบทเครื่องกรองฝุ่นอยู่ด้วยเช่นกัน​ลักษณะทางกายภาพของใบไม้ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ใบมีขน ผิวใบขรุขระ ผิวใบมัน รวมถึงต้นไม้ที่มีใบเยอะ หรือมีกิ่งก้านที่ซับซ้อน จะช่วยในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 และดูดซับมลพิษผ่านทางปากใบในขณะที่ต้นไม้ทำการสังเคราะห์แสง ​ผลจากงานวิจัยการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กจากควันธูปด้วยพืชในอาคาร จากการทดสอบพืชทั้งหมด 16 ชนิด โดยปล่อยควันธูปในกล่องทดลองที่มีพืชในอาคาร 1 ต้นเป็นเวลา 30 นาที เปรียบเทียบกับกล่องทดลองเปล่าที่ไม่มีต้นไม้ พบว่า ต้นกวักมรกตมีความสามารถในการดักจับ PM2.5 ได้มากที่สุด คือร้อยละ 30.87 รองลงมาคือต้นลิ้นมังกร อยู่ที่ร้อยละ 23.70​ในขณะที่งานวิจัยโดย รศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร ได้ทดลองต้นไม้ในระบบปิดขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร ที่ความเข้มข้น PM2.5 เริ่มต้นที่ 450-500 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่า ต้นพรมกำมะหยี่ลดฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 60 และต้นลิ้นมังกรลดฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งต้นไม้เหล่านี้เป็นกลุ่มไม้ประดับสามารถเลือกปลูกในอาคาร หรือนำไปปลูกที่หน้าต่างเพื่อดักอากาศก่อนที่ลมจะพัดพาเข้าบ้านได้​แต่หากพื้นที่บ้านใครยังพอมีที่ว่างด้านนอกอาคารก็สามารถออกแบบสวนให้ช่วยในการลดฝุ่นได้เช่นกัน​อย่างทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เผยแพร่สวนต้นแบบที่มีการใช้ไม้ยืนต้นเพื่อลดฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน ที่สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสวนนี้เลียนแบบระบบนิเวศที่ต้นไม้ต้องมีความหลากหลาย และใช้ศักยภาพของแต่ละต้นที่แตกต่างกันไป โดยเลือกต้นไม้ที่มีความสูง 3 ระดับ คือ​- ไม้ขนาดใหญ่ เช่น ราชพฤกษ์ ประดู่บ้าน และพิกุล​- ไม้ขนาดกลาง เช่น โมก และไทร​- ไม้พุ่มคลุมดิน เช่น ต้นหมาก ต้นเดหลี ต้นพลูปีกนก ต้นกวักมรกต ต้นคล้ากาเหว่าลาย ต้นคล้าแววมยุรา ต้นคล้านกยูง​ซึ่งการปลูกไม้ 3 ระดับนั้น ก็เพื่อเป็นแนวกันชนในการกำบังฝุ่น และควรปลูกอย่างน้อย 2 ชั้น โดยชั้นที่หนึ่งที่ปะทะลมให้ปลูกไม้พุ่มขนาดเล็ก และแถวที่สองปลูกไม้พุ่มขนาดกลางสลับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นการใช้ต้นไม้ดักลมให้อากาศเคลื่อนที่ช้าลง และทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กถูกดักจับด้วยใบพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ความชื้นจากการคายน้ำของพืชบริเวณนั้นจะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับฝุ่นละลองขนาดเล็กในอากาศให้เคลื่อนที่ลดลง และควรรดน้ำต้นไม้บริเวณนั้นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อล้างใบ และเพิ่มความชื้นในดิน ซึ่งการจัดเรียงต้นไม้อย่างเหมาะสมนี้จะช่วยกำบังฝุ่นได้มากกว่าร้อยละ 20-60 เลยทีเดียว​เนื้อหาโดย คุณ พันธ์พิสุ จุลพันธ์วัฒนา สถาปนิกวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A, RISC ​อ้างอิงข้อมูลจาก​กันติทัต ทับสุวรรณ, ศิรเดช สุริต. (2564). การดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กจากควันธูปด้วยพืชในอาคาร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(12); 80-93. ​ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร. (2565). การใช้พืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละอองอย่างยั่งยืน Sustainable PM Phytoremediation by Perennials Plants. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​
© 2025 Magnolia Quality Development Corporation Limited - A DTGO Company
ผลลัพธ์
การยืนยัน
การยืนยัน