Knowledge - RISC

"ASMR" ศาสตร์แห่งการบำบัดด้วยเสียง

เขียนบทความโดย RISC | 3 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

2851 viewer

 

ความเครียดที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เจอรอบตัว และแม้แต่จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเจอ ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีในการผ่อนคลายที่แตกต่างกันออกไป แต่บางคนอาจไม่สามารถทำได้ จนสุดท้ายกลายเป็นส่งผลต่อการนอน ​

การใช้ “ศาสตร์ของเสียง” เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ จึงเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด ที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ และใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ซึ่งศาสตร์ที่ว่าก็คือ “Autonomous sensory meridian response” หรือที่เราคุ้นหูคุ้นตากันว่า “ASMR” การตอบสนองของระบบประสาทต่อการถูกกระตุ้นไม่ว่าจะเป็น เสียง การสัมผัส การมองเห็น อย่างอัตโนมัติ โดยผู้ถูกกระตุ้นจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลายตามมา ซึ่งรูปแบบที่นิยมจะเป็นเสียง ทั้งเสียงเลียนแบบธรรมชาติ อย่างเสียงฝนตก เสียงลม เสียงคลื่นทะเล หรือจะเป็นเสียงจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร แคะหู หรือขยำกระดาษ เสียงเหล่านี้จะถูกนำมาประกอบกับความถี่ของคลื่นสมองตั้งแต่คลื่นเดลต้าไปจนถึงคลื่นอัลฟ่า ทำให้เรารู้สึกสงบผ่อนคลายและลดความเครียด อ้างอิงได้จากงานวิจัยมากมาย อย่างเช่น... ​

งานวิจัยปี 2015 ของสาขาวิชาจิตวิทยาจาก Swansea University ประเทศสหราชอาณาจักร พบว่า 80% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามพบว่า การฟังเสียง ASMR 3 ชั่วโมงช่วยลดอารมณ์ด้านลบ และมีผลช่วยให้อาการซึมเศร้าลดลงอีกด้วย นอกจากนี้อีก 38% รายงานว่ามีอาการปวดแบบเรื้อรัง (Chronic pain) ลดลงอีกด้วย ​

และงานวิจัยปี 2018 ของสาขาวิชาจิตวิทยาจาก University of Sheffield สหราชอาณาจักร ได้ทำการทดลองอาสาสมัคร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ดูคลิป ASMR และกลุ่มที่ดูคลิปที่ไม่ใช่ ASMR พบว่าในด้านกายภาพกลุ่มที่ดูคลิป ASMR มีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเฉลี่ย 3.14 bpm และรู้สึกสงบและผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ดู ​

นอกจากนี้ ASMR ในหลายๆ คลิปยังใช้การเสียงเลียนธรรมชาติรูปแบบต่างๆ อย่าง White Noise มาทำเป็น Background noise ที่ช่วยกระตุ้นระบบความจำ และทำให้นอนหลับได้ดีอีกด้วย ซึ่งปัจจุบัน AMSR ในรูปแบบต่างๆ สามารถฟังและรับชมได้ง่ายขึ้น จากแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เรียกได้ว่า ใครเครียด นอนไม่หลับ เปิดฟังปุ๊บ ก็หลับปั๊บได้ทันที ​

จะเห็นได้ว่า เสียงสามารถส่งเสริมการทำงานของสมอง และสุขภาพจิตได้ แต่ก็ควรคำนึงถึงระดับความดังของเสียงที่เหมาะสม เพราะหากดังเกินไป อาจกลายเป็น “เสียงรบกวน” แทน ทำให้เราไม่มีสมาธิ นอนหลับยาก ส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดหรือ “คอร์ติซอล (cortisol)” มากขึ้น แต่หากเราปรับใช้อย่างถูกวิธี เสียงก็เป็นสิ่งดีๆ ที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีได้ด้วยเช่นกัน ​

เนื้อหาโดย: จิราภา หอบรรลือกิจ นักวิจัยและการสื่อสาร RISC ​

ที่มาจาก PeerJ.comPlos.org, Behavioral and Brain Functions, PubMed.gov, Sleep Foundation

แนะนำสำหรับคุณ

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life
Happiness Science

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด
Happiness Science

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?
Happiness Science

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​
Happiness Science

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?
Happiness Science

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?
Happiness Science

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ
Happiness Science

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม
Happiness Science

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก
Happiness Science

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก

ทำไมเราถึงจำ “กลิ่น” ได้ดีกว่าประสาทสัมผัสอื่นๆ
Happiness Science

ทำไมเราถึงจำ “กลิ่น” ได้ดีกว่าประสาทสัมผัสอื่นๆ

รับข่าวสาร

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารกับเรา

© 2025 Magnolia Quality Development Corporation Limited - A DTGO Company
ผลลัพธ์
การยืนยัน
การยืนยัน