RISC

"Emotional Addiction" การเสพติดทางอารมณ์ คืออะไร?

เขียนบทความโดย RISC | 2 ปีที่แล้ว

แก้ไขล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว

4479 viewer

“เสพติด” เราอาจจะคิดถึงการลุ่มหลงในวัตถุ หรือสารเสพติดที่เป็นอันตราย แต่รู้หรือไม่ว่า เราทุกคนสามารถ “เสพติด” ทางอารมณ์ได้เช่นกัน?

อารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเราทุกคน และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมต่างๆ ทั้งเรื่องของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด การสร้างความสัมพันธ์ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ และยังรวมไปถึงการแสดงถึงความรู้สึกเชิงบวกหรือลบ เช่น มีความสุข เศร้า โกรธ และมีผลต่อการตัดสินใจของแต่ละบุคคล เมื่อระดับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบมีระดับที่สูงมาก เราอาจจะยึดติดและเสพติดอารมณ์ความรู้สึกนั้น จนลุกลามส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเราโดยไม่รู้ตัว

งั้นเรามาดูกันว่า “เสพติด” อารมณ์แบบไหน จะมีผลต่อเราอย่างไร? โดยเริ่มจากอารมณ์ด้านลบกันก่อน

อารมณ์ด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นความกลัว เครียด โกรธ เศร้า แม้มีประโยชน์ในการกำหนดสัญชาตญาณการเอาตัวรอด และส่งเสริมการป้องกันตัวจากภัยอันตราย แต่หากอยู่ในระดับที่มีสูงมากเกินไป จะลดความสามารถขาดการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต สุขภาพ รวมไปถึงคุณภาพการนอนหลับ จนอาจลุกลามไปถึงการใช้สารเสพติดเข้าช่วย อย่างเช่น ความกลัวหรือความวิตกจะทำให้เราขาดทักษะในการเผชิญหน้า ความเครียดอาจทำให้ลดประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ความโกรธจะทำให้ทักษะการในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง และความเศร้าอาจส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่หุนหันพลันแล่นได้

เราคงเห็นแล้วว่า การเสพติดอารมณ์ด้านลบนั้นมีแต่ผลเสียตามมามากมาย และหากเราเสพติดอารมณ์ด้านบวกบ้างล่ะ จะเป็นอย่างไร?

อารมณ์ด้านบวก อย่างเช่น ความสุข ความสนุกสนาน ใครหลายคนคงมองว่าเป็นสิ่งที่ดี ช่วยให้เรามีความสุขทั้งกายและใจ แต่...หากอารมณ์ด้านบวกอยู่ในระดับที่สูงเกินไป อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสพติดอารมณ์เหล่านั้นได้ เช่น การชอปปิง การเล่นเกม การกิน การศัลยกรรมเสริมความงาม หรือการทำกิจกรรมโลดโผน แม้อาจจะไม่ใช่กิจกรรมที่ส่งผลเสีย แต่หากการทำกิจกรรมดังกล่าวสร้างอารมณ์ด้านบวกมากเกินไป จากการที่สารเคมีในสมองอย่างโดพามีนหลั่งเพื่อตอบสนองระบบการให้รางวัลของสมอง (Brain Reward System) จนทำให้อยาก “รู้สึกดี” ซ้ำๆ และเพิ่มความถี่ของพฤติกรรมนั้นๆ มากขึ้น ก็จะกลายเป็นส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสพติดในที่สุด เสียทั้งเงินทอง เสียทั้งสุขภาพ หรืออาจจะสร้างความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็เป็นได้

จะเห็นได้ว่า หากคนเรา “เสพติด” ทางอารมณ์ หรือมีระดับอารมณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวัน สุขภาพกายและใจ ไปจนถึงความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างได้ เมื่อเรารู้ตัวว่าเรากำลังดิ่งสู่ภาวะอารมณ์แบบไหน ก็ลองเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือกิจกรรมบางอย่าง หรือให้คนที่เราไว้ใจช่วยพาเราออกจากกิจกรรม หรือสภาวะอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ แทน

เนื้อหาโดย คุณจิราภา หอบรรลือกิจ นักวิจัยและการสื่อสาร RISC

อ้างอิงข้อมูลจาก ​
Mark Steinberg, Ph.D. Emotional Addiction ​
Northbound Treatment ​

แนะนำสำหรับคุณ

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว
Happiness Science

ธรรมชาติกับการพัฒนาการของเด็กและความสัมพันธ์ของครอบครัว

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life
Happiness Science

Quality Time ของครอบครัว ส่งเสริม Quality of Life

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด
Happiness Science

Neuromarketing กับการใช้เทคโนโลยีตรวจจับอารมณ์ผ่านใบหน้า เพื่องานการตลาด

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?
Happiness Science

Neuromarketing คืออะไร?​ ช่วยคุณเพิ่มยอดขายได้อย่างไร?

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​
Happiness Science

ทำไม "แสงแดด" ถึงสำคัญต่อเรา?​

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?
Happiness Science

เสียงน้ำ สายฝน มีผลต่ออารมณ์ของเราอย่างไร?

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?
Happiness Science

"ฝนตก" ทำให้คนเหงา จริงหรือคิดไปเอง?

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ
Happiness Science

ความเครียด ภัยอันตรายที่ต้องใส่ใจ

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม
Happiness Science

อากาศร้อน ไม่ได้แค่ทำให้หัวร้อน แต่ยังส่งผลต่ออาชญากรรม

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก
Happiness Science

"ตรุษจีน" เทศกาลของการพบกันของครอบครัว RISC ขอชวนทำแบบสอบถามประเมินสมองเสื่อม เพื่อคนที่คุณรัก